วันพฤหัสบดีที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2557



Strategic Alliances

Strategic Alliances ก่อกำเนิดขึ้นในองค์กรจากความสำคัญหลายประการ ของการ implement กลยุทธ์ ในหลายๆ อุตสาหกรรม ความซับซ้อน และความไม่แน่นนอนเพิ่มขึ้นถึงจุดที่จะกลายเป็นตลาดแข่งขันสมบูรณ์ในไม่ช้า Strategic Alliances มีความหมายหลายนัยที่จะสร้างผลประโยชน์ให้กับพันธ์มิตรทางธุรกิจ เช่น การเข้าถึงเทคโนโลยีใหม่ และ การเสริมทักษะ การได้มาซึ่ง economies of scale และการลดความเสียง ในบทความนี้จะกำหนดการวิเคราะห์ประเด็นหลัก และคำถามวิจัย ที่เกี่ยวข้องกับ Strategic Alliances บทความนี้จะเริ่มจาก คำนิยามของ Alliances และเราจะเริ่มพาไปสู่การพิจารณาถึงเหตุผล เรียนรู้ถึงการจูงใจ Alliances ศักย์ภาพของ Alliances และกระบวนการพัฒนาอย่างก้าวกระโดด ในแต่ละ หัวข้อ key research area และคำถามจะถูกชี้ให้เห็น และหลักใหญ่ที่สนับสนุนการวิจัย และเกี่ยวข้องกับการค้นพบ เพื่อถกกัน ในบทสรุปของทั้งหมดนี้ จะแสดงให้เห็นถึง หลายเรื่องที่มีความสำคัญต่อทิศทางการวิจัยในอนาคต

A Definition of Strategic Alliances

Strategic Alliances เป็นความร่วมมือระหว่างองค์กร เพื่อจัดสรรทรัพยากรณ์ และ/หรือ การกำกับดูแลจากองค์กรที่มากกว่าหนึ่งองค์กร Strategic Alliances มีลักษณะสำคัญ 3 ประการ ประการแรก องค์กรมากกว่าหนึ่งองค์กร เป็นพันธ์มิตรกันและยังคงเป็นอิสระต่อกัน ภายหลังจากการ from พันธ์มิตรกันแล้ว ประการที่สอง องค์กรที่ตกลงเป็นพันธ์มิตรกัน มีกระบวนการทำงานร่วมกัน พึ่งพาอาศัยกัน โดยมักมีองค์กรหนึ่งที่อ่อนแอกว่าอีกองค์กรหนึ่ง (Parkhe,1993) การเป็นพันธ์มิตรและมีการทำงานร่วมกันของทั้งสองฝ่ายนำไปสู่การแบ่งปันข้อมูลด้านการควบคุม และการบริหาร แต่ละความรับผิดชอบยังคงเป็นเรื่องซับซ้อนของการบริหารพันธ์มิตร และบ่อยครั้งสร้างต้นทุนในการบริหารและต้นทุนในความร่วมมือกัน ประการที่สาม เพราะแต่ละองค์กรที่เป็นพันธ์มิตรกันยังความเป็นอิสระ ซึ่งความไม่แน่นอนคือความคาดหวังว่าอีกฝ่ายจะต้องเป็นผู้ทำ หรือรับผิดชอบ (Powell,1996)
บนพื้นฐานของหลายๆ คำนิยาม ขนาดขององค์กร เราสามารถแบ่งชั้นของ Alliances ได้โดยแบ่งเป็น แบบมีความเสมอภาคของความร่วมมือ การจัดสรรใบอนุญาต แบ่งปันโครงการพัฒนาสินค้า แบบไม่มีความเสมอภาค การแบ่งการจัดซื้อ และโรงงาน ลักษณะความสัมพันธ์ทั้งสองแบบนี้ไม่ได้เกิดจากคำนิยามของ Strategic Alliances  เป็น market base transactions ภายใต้สององค์กร และการร่วมกันของธุรกิจ ถึงแม้ว่านักวิชาการบางคนบอกว่าการควบร่วมกิจการเป็นรูปแบบหนึ่งพันธ์มิตรทางธุรกิจ ซึ่งเป็นความไม่ท่องแท้ของ concept ของ Strategic Alliances เพราะองค์กรที่เกิดใหม่จากการควบร่วมกิจการเป็นองค์กรเดียวไม่ใช่ 2 องค์กรอีกต่อไป
Alliances and knowledge exchange
จนกระทั้งปลายๆ ยุค 1980s การร่วมมือกันอย่างเสมอภาค กลายเป็นคำๆ เดียวกับ พันธ์มิตร มากกว่าปัจจุบัน และยังคงเป็นความเชื่ออย่างกว้างขวางของ รูปแบบใหม่ๆ ในการทำพันธ์มิตรกัน ผู้วิจัยได้เคยศึกษาเกี่ยวกับเซตของขอบเขตของการทำพันธ์มิตร (Hagedoorn,1993) เพื่อเป็นการเสริม เนื่องจาก concept ของ Alliances ได้มีการใช้กันอย่างแพร่หลาย มันจึงมีความจำเป็นต้องกำหนดเงือนไข ขอบเขต ของพันธ์มิตร เพื่อให้เห็นความแตกต่างจากแค่มีความสัมพันธ์กันระหว่างองค์กร (IORs) Strategic Alliances และ การร่วมท้าทายการบริหาร จะไม่คงอยู่เมื่อ ความสัมพันธ์นั้นอยู่บนพื้นฐานของ ขอบข่ายทางการตลาด market base transactions มากกว่านั้น พันธ์มิตรสร้างประเด็นการบริหารงานที่น่าสนใจเพราะเขาจะเข้ามาร่วมแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างสององค์กร ความรู้บางที่เกิดจากการใช้ทักษะร่วมกัน ใช้เทคโนโลยีร่วมกัน กำหนดอนาคตร่วมกัน และอื่นๆ เมื่อเรามีการแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างองค์กรก็เป็นความเสี่ยงเพราะบางทีเขาอาจจะถือเอาความรู้นั้นเป็นของตนเอง หรือบางที่นำไปใช้ในทางที่ผิด เมื่อมีการแลกเปลี่ยนความรู้กันแล้วธุระกิจมีสองทางเลือกคือ หนึ่งเขาจะพยายามป้องกันตนเองจากสัญญา หรือเขาสามารถ หันมาใช้ความไว้ใจ  เสมอๆ ไม่ใช่ทุกความบังเอิญที่สามารถจะมุ่งหวังความไว้ใจจากพันธ์มิตรได้ เราจึงต้องหันมาใช้การบริหารพันธ์มิตร ถ้าความเชื่อใจระหว่างพันธ์มิตร เป็นความจริงที่ไม่สำคัญ เพราะโดยทั่วไป ของ Alliance แล้ว เราสามารถรวบรวมทั้งหมดไว้ในสัญญาได้ การบริหารพันธ์มิตรจึงเป็นประเด็นที่ท้าทาย และน่าสนใจในการทำวิจัย ในท้ายๆบทจะได้มีการขยายความเรื่องความไว้ใจอีกครั้งหนึ่ง

Alliance forms and alliance research

เพราะหลายๆ รูปแบบของพันธ์มิตรทีมีอยู่ (และรูปแบบใหม่ๆ ที่จะเกิดขึ้น) ผู้วิจัยเรื่องพันธ์มิตร มีสามทางเลือกที่พาดพิงเพื่อจะพัฒนาทฤษฎี หนึ่งคือ focus บนรูปแบบที่แน่นอน เช่น การร่วมมือกันอย่างเสมอภาค และสอง คือปัจจัยภายในองค์กรเป็นตัวกำหนดรูปแบบของพันธ์มิตร ยกตัวอย่างเช่น (Dyer and Singh (1998)) ได้พัฒนา framework เพื่อให้เข้าใจว่าการซื้อ หรือการเช่านั้นเป็นการปกป้อง และเป็น framework ที่มีประสิทธิภาพ ที่สร้างการกำกับดูแล ถ้าเรายอมให้นักวิชาการแนะนำประเด็นที่ร่วมกันของความแตกต่างของพันธ์มิตรในแต่ละรูปแบบ สามเป็นแบบที่ไม่สามารถใช้เหตุผลมาสนับสนุนได้ทางเลือกคือ focus บนพันธ์มิตรเสมือนหนึ่งเป็นเพียงองค์กรเดียว หลายๆ ทฤษฎีทั่วๆไป อธิบาย ถึงข้อจำกัด ของอำนาจนอกจากจะหาความแตกต่างระหว่างรูปแบบของพันธ์มิตร dynamic ของการสร้างคุณค่าในการทำพันธ์มิตรแบบเสมอภาคกัน เป็นเรื่องที่แตกต่างกันที่นักวิชาการพูดถึง R&D ความร่วมมือ หรือ licensing agreement ตัวอย่างเช่น พันธ์มิตรที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของ เทคโนโลยี เป็นรูปแบบที่เกิดขึ้นบ่อยๆ กำหนดวันของสิ้นสุดของแผน การเป็นพันธ์มิตรแบบเสมอภาคไม่ควรมีกำหนดสิ้นสุด ขึ้นอยู่กับรูปแบบของการเป็นพันธ์มิตร โดยธรรมชาติลักษณะของการแบ่งทรัพยากรณ์จะมีความแตกต่างกัน จะเป็นการแข่งขัน อำนาจการต่อรอง และการวัดศักย์ภาพ

The Rationale for Strategic Alliances

เหตุผลในการทำ Strategic Alliances มีอยู่มากมายแต่ในบทนี้เราจะพิจารณาโดยยืนอยู่บนพื้นฐานของคำถามสองคำถามคือ อะไรคือวัตถุประสงค์ในการจัดตั้งกลุ่มพันธ์มิตร และทำไม พันธ์มิตรจึงต้องการรูปแบบในการรวมตัว ถึงแม้ว่าคำถามจะอยู่บนพื้นฐานที่ต่างกัน ในความเป็นจริงแล้วมันจะถูกใช้ในการตัดสินใจ
โดยคำจำกัดความ พันธ์มิตรจะก่อตั้งโดย 2 ธุรกิจ ที่ต้องร่วมกันดำเนินการ โดยการใช้ทรัพยากรณ์ร่วมกัน ซึ่งสามารถกระทำได้เมื่อมีความร่วมมือกัน ไม่สามารถกระทำเพียงองค์กรเดียวได้ การสร้างคุณค่าหมายถึงการรวมกระบวนการ และความสามารถในการใช้ทรัพยากรณ์ของกลุ่มเพื่อร่วมกันทำงาน และเป็นข้อสำคัญในการสร้างเงิน ผลประโยชน์สำหรับทั้งคู่ ถึงแม้ว่า แต่ละ partner ต้องการคุณค่าต่างกัน มีน้อยมากที่ต้องการคุณค่าเหมือนกัน สมาชิกในกลุ่มพันธ์มิตรจะได้ผลประโยชน์มากขึ้น และพันธ์มิตรต้องการทางเลือก (Porter and Fuller,1986) ดังนั้นการเลือกพันธ์มิตรเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องตัดสินใจ (Geringer,1988; Hitt et al.,2000)
วัตถุประสงค์ของความร่วมมือ เกิดจากวัตถุประสงค์ที่ต้องการความสำเร็จโดยการทำงานร่วมกับองค์กรอื่น และวัตถุประสงค์นี้ นำมาขยายผลในการถกกันใน alliances literature (e.g.,
Contractor and Lorange, 1988; Gulati, 1998; Harrigan, 1986; Hennart, 1988, 1991;
Inkpen, 1995a; Kogut, 1988; Osborn and Hagedoorn, 1997; Porter and Fuller, 1986).
วัตถุประสงค์ หรือ ผลประโยชน์ของพันธ์มิตรสามารถแบ่งได้ในหลายๆ กลุ่ม ถึงแม้ว่าการถกกันเป็นเรื่องเฉพาะตัว ธุรกิจส่วนใหญ่จะมีการก่อตั้งรูปแบบของพันธ์มิตรอยู่เนืองๆ
ปัจจุบันการก่อตั้งกลุ่มพันมิตรทางธุรกิจเพิ่มความสำคัญขึ้นเมื่อมีการแข่งขันสูงขึ้น การให้ทางเลือกระหว่าง พัฒนาเอง หรือหาพันธ์มิตร หลายองค์กรเลือกที่จะหาพันธ์มิตร เพราะมันรวดเร็วกว่า ยกตัวอย่างเช่น
ปัจจุบันกฏหมายเรื่องการร่วมธุรกิจไม่มีในประเทศจีน และการเข้าตลาดจีนเพียงลำพังช้าว่าใช้พันธ์มิตรที่เป็นองค์กรสัญชาติจีน มันดีเหมือนกับโลกที่หมุนด้วยความเร็วของอินเตอร์เน็ต การเดินลำพังทำให้องค์กรเสียโอกาส เพราะว่าเทคโนโลยี การเข้าถึงตลาด หรือทักษะโดยรวมบางครั้งต้องการได้มาอย่างรวดเร็วผ่าน partner ดังนั้นการมีพันธ์มิตรจะทำให้รวดเร็วกว่าพัฒนาขึ้นเอง เหมือนจะกล่าวเป็นนัยได้ว่าการเกิดขึ้นของพันธ์มิตรในอุตสาหกรรมเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและทำให้โครงสร้างเปลี่ยนไป อุตสาหกรรโทรคม ในศตวรรษที่ 21 เป็นตัวอย่างที่ดีของอุตสาหกรรมที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ไปพร้อมๆ กับการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยี และจำนวนของพันธ์มิตร
วัตถุประสงค์ที่ 2 เพื่อให้ได้มาซึ่ง economies of scale อย่างเช่นการร่วมกันจัดซื้อวัตถุดิบ การใช้โรงงานอุตสาหกรรมร่วมกัน วัตถุประสงค์ที่ 3 เพื่อเป็นการลดความเสี่ยง เช่นความเสี่ยงที่จะไม่มีวัตถุดิบมาใช้ในการผลิต ความเสี่ยงที่จะไม่มีจุดจัดจำหน่าย วัตถุประสงค์ที่ 4 เพื่อสร้าง reference โดยการทำพันธ์มิตรกับบริษัทใหญ่ที่มีชื่อเสียง วัตถุประสงค์ที่ 5 เพื่อสร้างองค์ความรู้



Alliances and organizational forms

ผลประโยชน์เชิงกลยุทธ์ที่ได้อภิปรายกันโดยมีหลายๆ เหตุผลว่าเหตุใดธุรกิจจึงต้องมีพันธ์มิตร อย่างไรก็ตาม กลยุทธ์การขยายตัวเพียงลำพังไม่เพียงพอต่อการดำเนินธุรกิจ เพราะแต่ละวัตถุประสงค์ ทางเลือกของรูปแบบ และโครงสร้าง ในหลายๆ กรณี สามารถเลือกเพื่อบรรลุบางวัตถุประสงค์ (Buckley and Casson, 1996; Hennart, 1988) ดังนั้นคำถามว่าทำไมแต่ละพันธ์มิตร จึงชอบรูปแบบที่แตกต่างกัน เช่น การพัฒนาเอง การควบรวมกิจการ หรือสัญญาการตลาด จึงเป็นปัจจัยทีต้องนำมาพิจารณา
Transactions cost theory ถูกใช้ในการอธิบายว่าธุรกิจชอบพันธ์มิตรนอกขอบเขตของตน และชอบมากกว่าการพัฒนาเอง หรือควบรวมกิจการ Transactions cost theory ได้ขยายความถึงรูปแบบของพันธ์มิตรขึ้นอยู่กับจุดประสงค์ในการ approach (Williamson, 1975,1981) ซึ่งเค้าเชื่อว่าธุรกิจจะเลือกรูปแบบของการทำพันธ์มิตรบนพื้นฐานของต้นทุนที่ถูกที่สุด

Organizational Learning and alliances

ในตอนที่แล้วเราได้อภิปรายถึงเหตุผลของการก่อตั้งกลุ่มพันธ์มิตร และเหตุใดพันธ์มิตรจึงถูกใช้ในหลายๆ รูปแบบ ในบทนี้ประเด็นการบริหารที่สำคัญที่เกี่ยวข้องกับกลยุทธ์พันธ์มิตรจะได้ถูกพูดถึง เพราะองค์กรแห่งการเรียนรู้ และพันธ์มิตรทั้งสองรูปแบบนี้จูงใจและเป็นกระบวนการพัฒนาอย่างก้าวกระโดด การเรียนรู้ จะเป็นจุดเริ่มต้นขอประเด็นการบริหารที่เราจะอภิปรายกัน ในบทจะต่อเนื่องกับการทดสอบประเด็นของพันธ์มิตร เช่น ศักย์ภาพ การควบคุม และความเชื่อใจ
คุณค่าจะเกิดขึ้นภายหลังจากการร่วมตัวพันธ์มิตรแล้ว การวิจัยเรื่องพันธ์มิตรจะต้องคำนึงถึงเรื่องการบริหารพันธ์มิตรอย่างไรในกระบวนการความร่วมมือเพื่อให้เกิดผลประโยชน์มากที่สุด เมื่อเร็วๆนี้เรามักจะศึกษาองค์กรเดียวที่สร้างมุลค่าของตนเองบนทฤษฏีของเหตุผลแล้ว การมีพันธ์มิตรไม่มีความจำเป็นตามวัตถุประสงค์ของการทำงานร่วมกัน พันธ์มิตรได้กำหนด platform เพื่อให้ธุรกิจเข้าถึงองค์ความรู้ของสมาชิกในกลุ่มพันธ์มิตร ตลอดจนแบ่งปันวิธีปฏิบัติ สำหรับสมาชิกในกลุ่ม แต่ละกลุ่มเป็นอิสระต่อกัน การแก้ไขปัญหา และการเฝ้าดูกิจกรรมของพันธ์มิตร และผลของมัน ธุรกิจสามารถเรียนรู้ได้จาก partner ของตน (Inkpen, 1996) สององค์กรหรือมากกว่านั้นเข้าร่วมพันธ์มิตรทางการเรียนรู้เนื่องจากมีทักษะต่างกัน องค์ความรู้ต่างกัน กลยุทธ์โดยรวมก็ต่างๆ กัน ความต่างนี้เองเป็นช่องว่างให้เกิดการเรียนรู้ การมีพันธ์มิตรนี้ลดความเสี่ยงเรื่ององค์ความรู้ได้อย่างรวดเร็ว และนี่เป็นจุดที่น่าสนใจในการทำวิจัย (Inkpen, 2000a; Kogut, 1988; Kumar and Nti, 1998; Larsson et al., 1998; Makhija and Ganesh, 1997; Mody, 1993; Parkhe,1991; Pucik, 1991) and empirical studies (Dodgson, 1993; Hamel, 1991; Hitt et al., 2000;Inkpen and Crossan, 1995; Inkpen and Dinur, 1998; Lane and Lubatkin, 1998; Mowery,Oxley, and Silverman, 1996; Powell, Koput, and Smith-Doerr, 1996; Simonin, 1997,1999)
ประเด็นวิจัยส่วนใหญ่จะพูดถึงการเรียนรู้จากกลุ่มพันธ์มิตร เป็นสิ่งที่ดี ภายใต้เงื่อนไขของความสามารถองค์กร ที่จะสร้างโอกาสในการเรียนรู้ หลายๆ ความแตกต่างของการเรียนรู้ได้ถูกทดสอบดังแสดงใน literature
Doz (1996) สงสัยว่าจุดศูนย์กลางของวิวัฒนาการเกิดจากพันธ์มิตร จากมุมมองของสมาชิกในกลุ่มพันธ์มิตร การเรียนรู้สามารถทดสอบได้จาก 2 มุมมองคือ 1 การเรียนรู้จาก partner สามารถเกิดขึ้นก่อนที่เราจะเชื่อใจในการพัฒนาภายในองค์กรเอง 2 การเรียนรู้ที่ดีเกิดจากสององค์กรที่มีความรู้แตกต่างกัน ในเมื่อมีความแตกต่างกันดังนั้นจึงเกิดอำนาจต่อรองของพันธ์มิตร เพราะเมื่อองค์กรมีการเรียนรู้อย่างรวดเร็วและสามารถดูดความรู้ไปได้หมดจะทำให้ภาวะพึ่งพาน้อยลง และเพิ่มอำนาจการต่อรองได้
เมื่อธุรกิจได้เรียนรู้จากสมาชิกพันธ์มิตร ความรู้ที่ถูกสร้างขึ้นนั้นสามารถนำกลับไปใช้กับผู้ถ่ายทอดได้ เพื่อขยายกลยุทธ์ และกิจกรรมของพันธ์มิตร ความรู้นี้เป็นประโชยน์กับองค์กรที่ได้เรียนรู้เพียงฝ่ายเดียว เมื่อธุรกิจได้เรียนรู้จาก partner คุณค่าของความรู้นั้นส่งผลภายนอกองค์กร และข้อตกลงของพันธ์มิตร องค์ความรู้นั้นมีความหมายว่าต้องมีคุณค่าทั้งกับผู้สอนและผู้เรียนรู้เพื่อ ตลาดใหม่ ผลิตภัณฑ์ใหม่ และธุรกิจใหม่ ศํกยภาพในการองค์ความรู้อย่างเต็มที่ เป็นองค์ความรู้ที่หากไม่มีพันธ์มิตรแล้วไม่สามารถเข้าถึงได้ ความรู้ไม่ควรจะมองจากด้านเดียว ทุกๆ สมาชิกมีโอกาสที่จะเรียนรู้ ซึ่งความสัมพันธ์ระหว่างองค์กรจะเป็นตัวขับเคลื่อน

การใช้ทางที่ต่างกัน การที่แต่ละ partner มีความสามรถที่ต่างกันและสามารถเติมเต็มธุรกิจของกันและกันได้ เช่นธุรกิจมีการลงทุนเพื่อขยายโอกาส เผชิญกับความไม่แน่นอน และต้องการเรียนรู้ ธุรกิจมักจะต้องการการควบรวมกิจการ ถ้าหนึ่งใน partner นั้นมีทางเลือกที่จะซื้อ
หลายๆ การเรียนรู้ถึงพันธ์มิตรต่างๆ มีมุมมองที่ต่างกันออกไป ยกตัวอย่างเช่น Makhija and Ganesh (1997) สร้างความเชื่อมโยงระหว่างการเรียนรู้ และการควบคุม ใน framework เดียวกัน Khanna, Gulati, and Nohria (1998) อธิบายถึงความสนใจระหว่างความร่วมมือกัน กับการแข่งขัน เป็นการพัฒนา ของการเรียนรู้ การใช้แนวทางของส่วนตัว และ ผลประโยชน์ส่วนรวม เป็นพันธ์มิตร ตรงข้ามกับการเรียนรู้คือการป้องกัน
Knowledge creation and knowledge management processes
ในการศึกษาใช้ข้อมูลของการศึกษาที่ อเมริกาเหนือ เข้าร่วมพันธ์มิตรธุรกิจกับญี่ปุ่น โดยมีการตั้งคำถามวิจัยสามคำถามคือ 1 อะไรคือกระบวนการที่ partner ใช้ผลประโยชน์กับการเรียนรู้ 2 อะไรคือชนิดของการเรียนรู้ ที่เหมือนกันแต่กระบวนการต่างกัน และเราควรใช้องค์ความรู้นั้นแบ่งกล่มความรู้ได้หรือไม่ 3 อะไรคือระดับความสัมพันธ์ระหว่าง องค์กร ชนิดขององค์ความรู้ และการถ่ายทอดองค์ความรู้
Inkpen and Dinur (1998) ได้กำหนด 4 กระบวนการ คือ การแบ่งปันเทคโนโลยี กิจกรรมร่วมกันของพันธ์มิตร การถ่ายทอดส่วนตัว และการบูรณาการกลยุทธ์ เข้าได้กำหนด 4 กลุ่มของการสรุป ประการแรก การสร้างองค์ความรู้ เป็นการตอบแทนที่สำคัญจากพันธ์มิตร ประการที่ 2 ทุกๆ สมาชิกมีความรู้ที่มีคุณค่า ประการที่ 3  การสร้างองค์ความรู้เป็นการพัฒนาการไปสู่การทำงานร่วมกันในหลายระดับขององค์กร ประการสุดท้าย คือการสร้างองค์ความรู้นั้นสามารถที่จะยกระดับของการเรียนรู้ตลอดจนระดับองค์กรต่างๆ สามารถตอบสนองต่อการบริหาร

Alliances as a race to learn

การมีพันธ์มิตรนั้นกล่าวได้ว่าเรามี race to learn หรือสนามแข่งขันการเรียนรู้เนื่องจากธุรกิจมีความไม่แน่นอน และโลกหมุนตามเทคโนโลยี ทำให้เราจำเป็นต้องเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ กระบวนการใหม่ๆ และหนทางที่จะเรียนรู้ได้คือการเรียนรู้จากพันธ์มิตร ซึ่งสามารถชี้ผลแพ้ ชนะทางธุรกิจได้ ซึ่งผู้ชนะจะคำนึงถึงการแข่งขันในการเรียนรู้ และผู้แพ้มักจะไม่คำนึงถึง แต่สนามแข่งขันที่แท้จริงต้องการผู้เข้าแข่งขันหลายๆ คน

Strategic Alliances Performance

การก่อตั้งพันธ์มิตรทางธุรกิจมีทั้งที่ประสบความสำเร็จและ ไม่ประสบความสำเร็จ ในส่วนที่ไม่ประสบความสำเร็จมักเกิดจากความไม่เชื่อใจกัน การแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ล่าช้า ความไม่ยืดหยุ่น ซึ่งพบว่าเกิดจากข้างใดข้างหนึ่ง หรือทั้งสองข้างของพันธ์มิตร ดังนั้นศักยภาพของพันธ์มิตรจึงเป็นประเด็นที่ต้องพิจารณา เนื่องจากมีหลายมิติ และหลายแง่มุมของความสัมพันธ์กันจนเป็นพันธ์มิตร เพราะการก่อตั้งพันธ์มิตรมีหลากหลายเหตุผล การประเมินศักยภาพของพันธ์มิตรจึงกลายเป็นงานที่ยาก มุมมองหนึ่งมีความสงสัยว่าศักยภายของพันธ์มิตรควรจะประเมินจากทั้งสององค์กรที่เข้าร่วมกัน และในมุมมองที่ต่างออกไปแนะนำว่าควรจะประเมินในส่วนของคุณค่าในการทำงานเทียบกันระหว่างทำเองลำพังกับมีพันธ์มิตร เพราะแต่ละ partner มีความหลากหลายของของวัตถุประสงค์ และความสามารถในการทำกำไรต่าง กัน ดังนั้นต้องมองผลประโยชน์ขององค์กร และข้อได้เปรียบเมื่อมีพันธ์มิตร

Alliances and shareholder value

หลักของการวิจัยคือ พยายามเชื่อมโยงมูลค่าหุ้นของ พันธ์มิตร ในตลาดหลักทรัพย์หลังจากได้มีการทำข้อตกลงในการเป็นพันธ์มิตรกันแล้วมีผลกระทบต่อราคาหุ้นอย่างไร

Alliances Instability

เพราะความยากของการวัด performance และการปฏิบัติเพื่อพิจาณาถือความเสถียรของพันธ์มิตร บนพื้นฐานที่แสดงว่า พันธ์มิตรที่ไม่เสถียร ไม่ประสบความสำเร็จ ข้อสงสัยว่า ความไม่เสถียรในการร่วมมือที่เท่าเทียมกัน ควรจะเชื่อมโยงกับ สิ่งที่วางแผนไม่ได้ โอกาส หรือความเข้าใจที่ไม่ตรงกัน นักวิชาการพยายามกำหนด ความไม่เสถียร เป็นหลักของความเปลี่ยนแปลง ในความสัมพันธ์ที่ไม่สามารถวางแผนได้ และ ยังไม่เจริญเติบโตเต็มที่ ของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งหรือทั้งสองฝ่าย บ่อยครั้งที่ความไม่เสถียรนี้ทำให้การเป็นพันธ์มิตรสิ้นสุดลง
Killing (1983) พิจารณาการเคลื่อนของทั้งการควบคุมพันธ์มิตร และ การสิ้นสุดของพันธ์มิตร เหมือนเป็นหลักฐานที่แสดงถึงความไม่เสถียร นักวิจัยอื่นๆ ก็ใช้แนวทางนี้ในการทำวิจัย Kogut (1989) ใช้ความเสี่ยงในการยกเลิกพันธ์มิตรเป็นปัจจัยเดียวของความไม่เสถียร 

Instability and bargaining power

ความไม่เสถียร และอำนาจการต่อรองเป็นเรื่องสำคัญที่จะทดสอบพันธ์มิตร เพราะในข้อตกลงการเป็นพันธ์มิตรนั้นมีขั้นตอนของการเจรจา และอำนาจการต่อรองระหว่างคู่พันธ์มิตรกัน โดยทั่วๆ ไปจะอยู่บนพื้นฐานของ ทรัพยากรณ์
ในระดับทั่วๆไปอำนาจการต่อรองเกิดจากความรีบร้อนที่ต้องเป็นพันธ์มิตรกัน เช่น ทรัพยากรณ์ที่เหลืออยู่จำกัด ของตกลง และทางเลือกที่มีน้อย จุดแข็ง และจุดอ่อนของแต่ละ partner
ดังสรุปได้ว่าอำนาจการต่อรองระหว่างพันธ์มิตรนั้นเกิดจากปัจจัยของเวลา และทรัพยากรณ์อันจำกัด และความจำเป็นต้องดำเนินธุรกิจในสภาวะแข่งขัน

Partner compatibility and performance 

ส่วนผสมที่เหมาะสมของ พันธ์มิตร เป็นเรื่องที่กำหนดยากขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ทั้งศักยภาพขององค์กร วัฒนธรรมองค์กร และอื่นๆ ไม่น่าประหลาดใจว่าผลของการวิจัยเรื่องนี้ให้ผลที่ไม่แน่นอน  บางพบว่าการรวมตัวกันเป็นพันธ์มิตรขององค์กรที่ต่างกันเช่น สหรัฐ กับ ญี่ปุ่น พบว่าความต่างกันไม่ใช่สาระสำคัญ หรือส่วนผสมไม่มีผลกับการเป็นพันธ์มิตรกัน

Control of Strategic Alliances

การควบคุมพันธ์มิตรเป็นหัวใจของข้อขัดแย้งระหว่างองค์กรที่ทำพันธ์มิตรกัน ยิ่งในกรณีที่มีการร่วมตัวอย่างเท่าเทียมกัน หลักของปัญหาคือการเข้าไปบริหารจัดการพันธ์มิตร แต่อย่างไรก็ตามประเด็นของการควบคุมพันธ์มิตรยังคงเป็นประเด็นสำคัญ เพราะการควบคุมพันธ์มิตรที่มากเกินไปจะทำให้เขาสูญเสียความเป็นเจ้าของที่มีอำนาจตัดสินใจในองค์กรของเขาเองได้
Control and Performance
ความสัมพันธ์หระหว่างการควบคุม กับศักยภาพ Killing (1982) ได้กำหนด 3 กลุ่มของพันธ์มิตรบนพื้นฐานของการขยายและแบ่งปันการตัดสินใจ การเข้าครอบงำของพันธ์มิตรที่ใหญ่กว่า การแบ่งปันการบริหาร ให้กับพันธ์มิตร และความเสี่ยงที่เป็นอิสระต่อกัน Killing สงสัยว่าการเข้าครอบงำจากพันธ์มิตรที่ใหญ่กว่าเพียงองค์กรเดียว สามารถลดข้อขัดแย้งระหว่างพันธ์มิตรหลายๆ องค์กรได้จริงหรือ การควบคุมทำให้ศักยภาพของพันธ์มิตรเพิ่มขึ้น หรือลดลงกันแน่ เค้าได้วิจัยว่าการควบคุม โดยใช้ทฤษฎีต้นทุนมาพิจารณาว่าเมื่อมีการควบคุมแล้ว ทำให้ความเสี่ยงลดลงหรือไม่ ต้นทุนลดลงหรือไม่ โดยได้ผลว่าการให้พันธ์มิตรร่วมตัดสินใจนั้นทำให้ศักยภาพดีขึ้นกว่าการเสี่ยงตัดสินใจเพียงลำพัง

Trust and Strategic Alliances

ความไวใจเป็นแก่นแท้ของความสำเร็จในการใช้พันธ์มิตร อภิปรายเรื่องการไวใจ เป็นธรรมชาติของกระบวนการก่อตัวของพันธ์มิตร ความไวใจพันธ์มิตรควรจะดูที่วิวัฒนาการของเหตุผลมากว่าสถิต แต่ความไวใจก็เป็นปัจจัยของความเสี่ยงหากองค์กรไวใจพันธ์มิตรแบบไม่มีเงือนไข ธรรมชาติของความเสี่ยงเป็นความสัมพันธ์ระหว่างความสัมพันธ์ กับความไวใจ
Trust and performance
ถึงแม้ว่าจะมีการกล่าวว่าความไววางใจจะทำให้ศักยภาพของพันธ์มิตรดีขึ้น  ซึ่งเกิดจากการใช้ปัจจัยความไววางใจเป็นตัวนำในการกำหนด performance แต่ที่จริงแล้วควรต้องใช้ performance เป็นปัจจัยต้น เพื่อให้เห็นระดับความไววางใจว่ามีความเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร performance ต่ำเนื่องจากพันธ์มิตรไม่ไวว่างใจกันซึ่งจะนำไปสู่ performance ต่ำในระยะยาว ธุรกิจได้ทบทวนส่วนของผลลัพธ์ ในการเปรียบเทียบกับ ความคาดหวัง สามารถนำไปสู่การที่ธุรกิจจะพยากรณ์ขอบเขตของแต่ละ partner ตามการรักษาสัญญาได้หรือไม่ ถ้า performance แย่กว่าความคาดหวัง พันธ์มิตรนั้นจะถูกตั้งคำถามเกี่ยวกับความสามารถ และระดับในความไวใจของ partner ในความสัมพันธ์ก็จะลดลงด้วย
ในการศึกษาที่เข้มแข็งสนับสนุนว่า ความไววางใจ สัมพันธ์กับ performance ในความหมายระหว่างธุรกิจ ซึ่งพบได้ใน literature ทั่วไป ในความร่วมมือที่เท่าเทียมกัน โดยไม่คำนึงถึงข้อโต้แย้งอีกมากมาย และนี่เป็นข้อจำกัดของงานวิจัยการใช้มุมมองของพฤติกรรมการใช้โอกาส เป็นตัวแทนความไวใจ เราพบว่าความสัมพันธ์อย่างแน่แฟ้นระหว่าง มุมมองของโอกาส และ performance ของพันธ์มิตร เราพบข้อสนับสนุนข้อโต้แย้งที่ว่าความไวใจเป็นอิทธิพลทางอ้อมที่ส่งผ่านไปยัง performance ด้วยความอดทน

Trust and organizational levels

ความไววางใจควรจะเป็นพื้นฐานระหว่างสององค์กร ยกตัวอย่างเช่น ความไวว่างใจระหว่างผู้บริหารของทั้งสององค์กรที่ได้รับมอบหมายให้ทำงานร่วมกัน หรือ ความไวใจควรเป็นระดับองค์กร เพราะจะได้ครอบคลุมทั่วทั้งองค์กรทั้งสองฝ่าย ในบางกรณีความไววางใจของบุคคลก็มีความสำคัญต่อการทำงาน และบางกรณีเชื่อว่าหากมีความไวใจระดับองค์กรแล้วก็สามารถจะขยายผลความไวใจนั้นลงไปยังส่วนต่างๆ ขององค์กรได้เช่นกัน
Trust and Control

ความไวใจกับการควบคุม เป็นคนละขั่วของหลักการ เราแนวคิดเราเชื่อว่าการควบคุมให้ผลดีกับ performance ถ้าไม่มาจนเกินไป ซึ่งทำให้ดูเหมือนว่าเป็นการก้าวก่ายการบริหารของอีกฝ่ายหนึ่ง ในขณะที่ ความไวใจ จะทำให้ performance ดีในระยะยาวหากแต่ระดับความไววางใจที่มากเกินไปก็สามารถก่อให้เกิดผลเสียได้เช่นกัน

Alliance Development and Evolutions

การที่พันธ์มิตรได้มีการแบ่งปันเป้าหมายซึ่งกันและกัน และร่วมพัฒนาสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ไปสู่เป้าประสงค์เดียวกันเป็นการพัฒนาเพื่อความก้าวหน้า ทั้งพันธ์มิตรที่มีเสถียรภาพ และไม่มีเสถียรภาพหรือจับกันแบบหลวมๆ  ความยากลำบากอันหนึ่งที่จำเป็นต้องสร้างไปด้วยกันคือการพยากรณ์สถานการณ์ในอนาคต อย่างไรก็ตามพันธ์มิตรที่สามารถทำได้ก็จะรอดอยู่ในธุรกิจต่อไป ดังจะเห็นได้ว่าหลายๆ ข้อตกลงเป็นพันธ์มิตรกันทั้งๆ ที่อนาคตที่ดูยังไม่แน่นอน และความผันแปรของอนาคตยังมีสูง ดังนั้นพันธ์มิตรจะมีความก้าวหน้าไปด้วยกันโดยการพัฒนารูปแบบ และทักษะสำคัญในแต่ละ สมาชิกเพื่อให้เหมาะสม
การศึกษาเรื่องนี้เป็นเรื่องที่น่าสนใจมากและยังมีข้อจำกัดอีกหลายอย่าง
Attachment between alliance partners
นอกจากการเรียนรู้เรื่องกระบวนการและการพัฒนาโครงสร้าง การพัฒนาการของพันธ์มิตรเป็น รูปร่างโดยการพัฒนาการของความสัมพันธ์ระหว่าง partner และ ผู้จัดการ การผูกกันเป็นแนวคิดที่จะให้ความสัมพันธ์ระหว่างธุรกิจและความเข้าใจว่าการผูกกันของธุรกิจหนึ่งกับอีกธุรกิจหนึ่ง การผูกกันระหว่าง partner พัฒนาไปสู่การสร้างประสบการณ์และการทำงานร่วมกัน ตลอดจนการลงทุน และการสร้างความสัมพันธ์กันนอกเวลา เมื่อ partner มีการพัฒนาความสัมพันธ์กันอย่างเข็มแข็ง และมันเป็นแรงผลัก และป้องกันการเปลี่ยนสถานะของความสัมพันธ์ ถ้าธุรกิจเคยร่วมงานกันมาก่อนจะเป็นพื้นฐานของความเข้าใจทั้งเรื่องทักษา และความสามารถของกันและกัน ความสัมพันธ์อันเก่าแก่มีความเป็นไปได้อย่างมากที่จะช่วยให้ผ่านอุปสรรคต่างๆไปได้

Future Alliance Research Issues

ประการแรก โอกาสหลักของการทำวิจัยในเรื่องกระบวนการ การวิวัฒนาการของพันธ์มิตร ประการที่สองของโอกาสในการทำวิจัยคือหาความเชื่อมโยงระหว่าง Alliances และ Network ประการที่สามของหลักการวิจัยคือขยายความเข้าใจของรูปแบบการทำพันธ์มิตร internet และe-commerce base alliance

Conclusion 

ในบทนี้เราได้อภิปรายถึงหลักใหญ่ของการวิจัยการทำพันธ์มิตร และคำถามวิจัย และประเด็นที่จะศึกษา ในทศวรรษที่ผ่านมา ถึงแม้ว่าหัวข้อวิจัยจะเป็นไปอย่างกว้างขวางและมีผลออกมามากมาย โดยเฉพาะในช่วง 1990s ความจำเป็นที่ต้องอภิปรายในหลายๆ ประเด็น ยกตัวอย่างเช่น หัวข้อที่มีความพิเศษเช่น ผู้จัดการพันธ์มิตร เลือก และให้รางวัล อย่างไร กลยุทธ์ในการเจรจาต่อรองของพันธ์มิตร และโครงสร้างสัญญาพันธ์มิตร ถึงแม้ว่าเราจะอภิปรายถึงประเด็นระหว่างประเทศ ที่มีผลกระทบในบางพื้นที่ เราไม่ได้ให้รายละเอียดสำหรับพันธ์มิตรระหว่างประเทศ อย่างเช่นการเข้าถึงตลาดในต่างประเทศเองหรือผ่านพันธ์มิตร การมีวัฒนธรรมองค์กรที่ต่างกันเมื่อมาเป็นพันธ์มิตรกัน และข้อขัดแย้งของความแตกต่างกันของประเทศ
สุดท้ายนี้ แนวความคิด IOT ควรจะเป็นขอบเขตมากกว่าแนวความคิดของพันธ์มิตร รวมถึงทุกชนิดของความสัมพันธ์ระหว่างธุรกิจและ จุดกำเนิดของการวิจัย IOR ใน non market setting (Oliver, 1990) อย่างไรก็ตามวรรณกรรม IOR ได้กำหนดหลายๆ ความคิดด้านทฤษฎี ที่สำคัญ และสร้างกลยุทธ์ของพันธ์มิตร ความเข้าใจต่างๆ เช่นการพึ่งพาทรัพยากรณ์ ความถูกต้อง และอำนาจที่ไม่เท่ากันของกลยุทธ์พันธ์มิตร และธุรกิจที่ทำงานร่วมกันสำหรับภาพกว้างทั้งหมดของการทบทวนวรรณกรรมดูได้ที่ Barringer and Harrison (2000).

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น