การบริหารเชิงกลยุทธ์ ว่าด้วย รูปแบบของความสัมพันธ์ระหว่างตัวแทน กับ
การกำกับดูแลกิจการที่ดี
หากจะกล่าวไปแล้วนั้นเรื่องทฤษฏีตัวแทนได้เริ่มมีการหยิบยกขึ้นมาเป็นประเด็นในการศึกษาราวปี
ค.ศ. 1970 เนื่องจากสภาวะเศรษฐกิจมีความผันผวน
และการบริหารงานภายใต้ข้อมูลที่ไม่ชัดเจน
จึงมีการทำวิจัยในเรื่องการกำกับดูแลกิจการที่ดี เรื่องผลตอบแทนผู้บริหาร
ความสามารถขององค์กร และกลยุทธ์ในการตัดสินใจ เช่น การเปลี่ยนธุรกิจ
และการควบรวมกิจการ
ในบทความนี้เรากำลังสำรวจหาข้อจำกัดหลักของทฤษฏี
โดยแสดงให้เห็นจากสิ่งที่เกิดขึ้น มิใช่ว่าเราต้องการจะล้มล้างทฤษฏี
หากแต่เป็นการหยิบยกทฤษฏี ในแง่มุมต่างเพื่อใช้เป็นหัวข้อในการศึกษาต่อไป
เราจะเริ่มจากการสรุปสมมุติฐานภายใต้รากฐานของ Agency model ก่อนที่เราจะปรับ model เข้าไปหาสิ่งที่นักวิจัยนำไปใช้วิจัยกัน
Jensen and Meckling (1976) มีการตั้งคำถามถึงความสัมพันธ์กันของ 4 คำอธิบาย
อันแรกก็คือทฤษฏีนั้น กำเนิดจาก transcation base ซึ่งเป็นทฤษฏีต้นทุนและสภาบันทางเศรษฐศาสตร์ต่างๆ
แนะนำทฤษฏีนี้
ทำไมทฤษฏีนี้จึงยังคงใช้อยู่และเป็นรากฐานประสบการณ์ที่อเมริกาใช้อธิบายประเด็นการกำกับดูแลกิจการ
อันที่สอง เราจะกับไปดูข้อโต้แย้งของ with Amihudand
Lev (1981; 1999) และ Denis, Denis, and Sarin (1999) ที่ตั้งคำถามถึงความสามารถของ
J/M Model ที่ใช้อธิบายประเด็นเรื่องการกำกับดูแลกิจการ อย่างกว้างขวางในอเมริกา
อันที่สาม เราใช้เศรษฐศาสตร์การเมืองกำหนดข้อจำกัดของ J/M Model ในการอธิบายถึงเรื่อง
Agency Problem อันดับสี่ เราจะใช้ เศรษฐศาตร์ครัวเรือน เพื่อชี้ให้เห็นว่าทำไม J/M
Model ถึงสบประมาณ Agency Problem ใน family-owned และ Managed
firms ด้วยสิ่งต่างๆ เหล่านี้เราแนะนำให้พัฒนาให้มากกว่า agency
model ทั่วไป เพื่อให้ทฤษฏีคงอยู่ต่อไปและเป็นรากฐานของการบริหารเชิงกลยุทธ์
The Jensen-Meckling Model
ทฤษฎีตัวแทน(Agency Theory) (Jensen และMeckling,
1976) มีแนวความคิดว่าธุรกิจ ดำเนินไปได้ภายใต้สัญญาระหว่างเจ้าของ (Principals)
ซึ่งเป็นเจ้าของกิจการหรือเจ้าของทรัพยากรณ์
ซึ่งมองเห็นโอกาสจึงได้ทำสัญญาว่าจ้างตัวแทน (Agency) ในการทำธุรกิจโดยมอบหมายอำนาจการตัดสินใจให้
และเมื่อมีการว่าจ้างตัวแทนจึงเกิด Agency cost หรือต้นทุนตัวแทน
ทั้งในแง่ของค่าใช้จ่ายในการจ้างตัวแทน และความเสี่ยงในการตัดสินใจของตัวแทน
พบว่าบ่อยครั้งเกิดความขัดแย้งระหว่างเจ้าของ กับตัวแทน
เรื่องความรับผิดชอบที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งควรเป็นผู้รับผิดชอบในค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นอย่างไม่ยุติธรรม
รวมไปถึงมูลค่าทรัพยากรณ์ และผลตอบแทนที่ควรได้รับ
แต่ไม่ได้อันเกิดจากการบริหารงาน ดังนั้น
ความสัมพันธ์ของตัวแทนจึงนำไปสู่การบริหารจัดการต้นทุนตัวแทนอย่างมีประสิทธิภาพ
ต้นทุนตัวแทนเป็นต้นทุนที่เจ้าของจําเป็นจะต้องรับเพื่อสนับสนุนให้ผู้บริหารสร้างมูลค่าสูงสุดให้แก่เจ้าของ
มากกว่าที่จะดําเนินการเพื่อประโยชน์ส่วนตนเพียงอย่างเดียวMichael
Jensen และ William Meckling (1976) เสนอแนะว่าระดับหนี้ของธุรกิจ
และส่วนทุนในการบริหารเป็นปัจจัยที่มีผลต่อการควบคุมต้นทุนตัวแทน
ทั้งนี้ต้นทุนตัวแทนเกิดขึ้นใน 3 รูปแบบคือ(1)
ต้นทุนในการเฝ้าระวัง
(Monitor Managerial Activities) เช่น ต้นทุนในการตรวจสอบ(2) ต้นทุนที่เกิดขึ้นจากการปรับโครงสร้างขององค์กร
ซึ่งจะช่วยจํากัดพฤติกรรมการบริหารที่ไม่โปร่งใส อาทิ
การแต่งตั้งบุคคลที่มีความเหมาะสมในการเข้ามาเป็นคณะกรรมการของบริษัท
หรือต้นทุนที่เกิดขึ้นจากการปรับโครงสร้างของธุรกิจหรือการกําหนดโครงสร้างลําดับขั้นในการบริหาร(Management Hierarchy) และ(3)
โอกาสต้นทุนค่าเสียโอกาสที่เกิดขึ้นเมื่อเจ้าของจําเป็นต้องกําหนดข้อจํากัด
อาทิ การจัดประชุมผู้ถือหุ้นในวาระพิเศษต่างๆ จะจํากัดโอกาสของผู้จัดการในการนําทรัพยากรของบริษัทไปสร้างประโยชน์ให้ได้มากที่สุดในระยะเวลาอันสั้น
การกําหนดระดับที่เหมาะสมของต้นทุนตัวแทนที่รับได้โดยผู้ถือหุ้นมาจากการประเมินในเรื่องของสัดส่วนที่เหมาะสมของต้นทุนและผลประโยชน์ (Cost-Benefit Analysis) โดยควรคํานึงถึงประโยชน์ในระยะยาวที่จะสร้างความมั่งคั่งให้ผู้ถือหุ้นเป็นสําคัญการจ่ายผลตอบแทนให้กับตัวแทน
เพื่อเป็นการจูงใจให้ตัวแทนดำเนินธุรกิจให้เกิดมูลค่าสูงสุดตามที่เจ้าของต้องการดังนั้นการจ่ายผลตอบแทนจึงเป็นเรื่องสำคัญ
ว่าผลตอบแทนนั้นสะท้อนความสามารถของตัวแทนอย่างแท้จริง
Does the J/M Model Apply to Firms Outside the USA?
หลักการสำคัญของ J/M Model ตั้งอยู่บน 3 สมมุติฐานคือ
หนึ่ง ตัวแทนเป็นโอกาสของธุรกิจโดยธรรมชาติ
เจ้าของจะคัดสรรตัวแทนโดยตั้งความหวังว่าตัวแทนจะบริหารจัดการองค์กร หรือทรัพยากรณ์ของเจ้าของให้เกิดมูลค่าสูงสุด
ใน model นี้ของการกำกับดูแลกิจการที่ดีเหมือนกับองค์กรทฤษฏี
เศรษฐศาสตร์นิโอคลาสสิก ยังคงความคลุมเครือระหว่าง โอกาส และทัศนะคติ
สองลักษณะขององค์กรแต่ละหน้าที่มีข้อมูลไม่เหมือนกันทำให้มีพฤติกรรมต่อโอกา
ศต่างกัน
ความไม่เหมือนกันของข้อมุลนี้เองทำให้ต้องแบ่งเป็นการควบคุมแบบวันต่อวัน
และกลายเป็นหลักการของเจ้าของ ซึ่งมีเหตุผลจำกัด
และนี่เองเป็นข้อจำกัดของเจ้าของที่จะแบ่งแยกให้ได้ว่าตัวแทนทำเพื่ออะไร
ระหว่างผลประโยชน์ของตน
กับผลประโยชน์ขององค์กร สาม
จากสองสมมุติฐานที่กล่าวมาเราคิดว่าผู้บริหารต้องการ monitoring และ incentives
ที่น้อยกว่าโอกาสที่เข้าสามารถหาได้จากองค์องค์กร
ในที่สุด model คาดคะเนว่าพฤติกรรมเกี่ยวกับโอกาส
และการบังคับให้ทำตามมันไม่เป็นธรรมชาติ แต่ก็ไม่สามารถเชื่อใจได้อย่างสมบรูณ์
The Institutional Model of Corporate Governance in
the US
ถ้าจะพูดถึงพื้นฐานของสถาบันชาติของ อเมริกา
คงต้องกล่าวว่ารากฐานนั้นเกิดจากหลายปัจจัย เช่น ครอบครัว ระบบการศึกษา
การรับรู้ข่าวสารโฆษณาประชาสัมพันธ์ ทำให้เกิดทัศนคติเชิงบวก ความชอบส่วนบุคคล
ความสำเร็จเฉพาะตัว หรือจะกล่าวว่าพฤติกรรมการจากกระบวนการหล่อหลอมทางสังคม
ซึ่งส่งผลไปยังบุคคลทั้งที่เป็นเจ้าของ และตัวแทน J/M model จึงสามารถอธิบายพฤติกรรมของเจ้าของและตัวแทนในแง่มุมของสถาบันได้
Dose the J/M Model Apply to Widely Held Public Frims?
Amihud และ Lev’s ได้พยากรณ์สองเรื่องเกี่ยวกับไม่มี
ตัวการ ใดจะมีพฤติกรรมโน้มเอียงไปทาง ตัวแทน ทั้งหมด เมื่อ
ตัวการจ่ายผลตอบแทนที่ดี ตัวแทน ทำงานบริหารอย่างเต็มความสามารถเมื่อ
องค์กรไม่สามารถจะลงทุนเพิ่มได้แล้วและได้ผลตอบแทนตามที่คาดหวังแล้วก็จะไล่ ตัวแทน
ออก ดังนั้น ตัวแทนจึงต้องพยายามที่จะหาทางอยู่ในองค์กรให้นาน จึงเป็นเหตุผลที่
ตัวแทนจะไม่บริหารอย่างเต็มความสามารถเพื่อให้ ตัวการได้รับผลประโยชน์สุงสุด
“Widely Held” คือธุรกิจที่ผู้ถือหุ้น ไม่ต้องการมีบทบาทใดใดในองค์กร
เสมือนกับไม่ได้ยุ่งเกี่ยวกับองค์กร แต่ลงทุนเพื่อต้องการผลตอบแทนจากการประกอบการ
ผู้เขียนอนุมานว่าเหมือนกับ กองทุนรวม
ที่เราเห็นอยู่ทั่วไปคือผู้ซื้อหน่วยลงทุนไม่ต้องมีบทบาทในการบริหารใดๆ
เพียงแต่เลือกซื้อกองทุนที่มีนโยบายการลงทุนตรงความความต้องการของผู้ซื้อ
และรอรับผลประโยชน์จากการบริหารของ ผู้บริหารกองทุน ซึ่งในที่นี้คือ ตัวแทน
นั้นเอง
ดังนั้นผู้ซื้อหน่วยลงทุนจะเชื่อใจผู้บริหารกองทุนว่าจะบริหารอย่างมีประสิทธิภาพ
ภายใต้ผลตอบแทนที่สูง และการตรวจสอบจากผู้ลงทุนต่ำนั้นเอง แต่ทั้งนี้ผู้บริหารกองทุน
ไม่ได้แบกรับความเสียงใดๆ
ซึ่งอาจทำให้การตัดสินใจนั้นได้ผลประโยนช์สู่ผู้ลงทุนไม่เต็มทีได้ (Jensenม1998
:177)
Lane, Cannella, and
Lubatkin (1998) ได้ challenged ทฤษฎีตัวแทนของ Amihud and Lev’s ประการแรก ตัวการ และตัวแทน มีความเข้าใจและทราบถึง Total risk แล้ว ประการที่ 2 ตัวแทน จะไม่แสวงหาผลประโยชน์ส่วนตัว นอกจากว่าเขาสนใจ และตั้งใจจะทำ ประการที่ 3 โครงสร้างของเจ้าของแทบจะไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับกลยุทธ์การย้ายธุรกิจขององค์กรเลย
ประการที่ 4 การกำกับดูแลโดยเจ้าของไม่ใช้เหตุที่จะทำให้เกิดผลตอบแทนสูงสุด
ในที่สุดเราพัฒนาสมมุติฐานความเชื่อมโยงระหว่าง โครงสร้างของเจ้าของ กับ การกำกับดูแล
กลยุทธ์องค์กร และความสามารถขององค์กร โดยใช้ข้อมูลของ Amihud and Lev’s ในปี 1960 และเก็บข้อมูลเองในปี 1980
เราพบว่าไม่มีข้อสังเกตุใดสนับสนุนทฤษฏีของ Amihud และ Lev’s
เลยหากไม่ใช้ข้อมูลของเขา
เราคิดว่า J/M Model ควรจะขยายความด้านพฤติกรรมของตัวแทน ซึ่งต่อสู้กับการควบคุมจาก ตัวการ
จึงเป็นการเปิดประเด็นในการศึกษาเรื่องนี้ต่อไป
Dose the J/M Model Apply to Privately Owned and
Owner-Managed Firms?
J/M Model มีความเชื่อว่าหาก ตัวการดูแล กิจการอย่างใกล้ชิดจะสามารถลดต้นทุนเรื่องการสร้างความเชื่อมั่นต่อตัวแทนได้
เรา Challenge ความคิดนี้ ประการแรก เราเห็นว่า J/M Model มองข้ามเรื่องผลประโยชน์ของตัวแทน
ที่เกิดขึ้นภายนอกองค์กร ประการที่สอง เราสงสัยว่า J/M Model ประมาณความสามารถของกิจการที่เจ้าของมาดูแลสูงเกินไป
เพราะปัญหาจะได้รับการแก้ไขจากมุมมองที่ต่างกัน เราจึงคิดว่า J/M Model ยังไม่ได้ขยายความเรื่องของกิจการเจ้าของคนเดียว
เพราะมันเป็นการประเมินปัญหาตัวแทนต่ำเกินไป
เราจึงเชื่อว่าการที่กิจการเจ้าของเข้ามาดูแลอย่างใกล้ชิด
ไม่ใช่ทางออกสำหรับทุกปัญหา หากแต่จะเป็นอุปสรรคต่อตัวแทน และเพิ่มต้นทุน ตัวแทน
ในเชิงของการให้คำปรึกษา ขึ้นอีกด้วย
J/M Model กล่าวว่าการแยกอำนาจบริหาร และความรับผิดชอบ
เป็นหลักการขององค์กรที่ใช้ ตัวแทน เพื่อที่สร้างผลตอบแทนสูงสุด
และโอกาสในการสร้าง Moral Hazard กับตัวแทน
เราสงสัยว่าถ้า CEO ที่มีอำนาจเต็มสามารถบริหารจัดการได้เหมือนกับเจ้าของเป็นสังคมการเมือง
หรือเป็นเจ้าของ องค์กรจะแย่ลง เพราะการแสวงหาผลประโยชน์ส่วนตัว
แล้วความแย่ลงดังกล่าวจะเกิดในกิจการเจ้าของคนเดียวหรือไม่
ซึ่งจะได้กล่าวต่อไปในเรื่องของหน่วยครัวเรือน
Dose the J/M Model Apply to Family-Owned and Managed
Firms?
ในกรณีของกิจการครอบครัวนั้น เป็นการบริหารงานโดยเจ้าของก็จริงอยู่แต่
สมาชิกในครอบครัว ซึ่งมีส่วนในการตัดสินใจต่างๆนั้น อาจเป็นการทำให้ Agency
Problem ก็เป็นได้
สืบเนื่องจากการบริหารงานโดยครอบครัวนั้นเป็นการใช้กลไกในการควบคุมต้นทุน
เหมือนกับ กิจการตัวแทนแบบ widely held โดยใช้ข้อจำกัดของ Agency problem
เราตั้งสมมุติฐานว่าความสัมพันธ์ในครอบครัว สร้าง Agency
problem เหมือนกิจการเจ้าของคนเดียว ซึ่งมีความยากที่จะแก้ไขปัญหาที่ซับซ้อน
Discussion
ถ้าเช่นนั้นแล้ว J/M Model ควรเป็นดังนี้หรือไม่
สรุป
Model ที่แสดงให้เห็นในรูป 8.6 นั้นเป็นการเปิดมุมมองที่จะนำ
J/M Model มาประยุกต์ใช้โดยคำนึงถึงตัวแปรต่างๆเพื่อจะพัฒนา
และศึกษาถึงตัวแปรที่มีผลต่อ model of agency มีความสัมพันธ์ต่อการกำกับดูแลกิจการที่ดี
เช่นในรูป ที่ 8.3 เป็นการศึกษาของ Amihud และ Lev’s (1981)
ได้แสดงถึง
model of agencyrelationship in US public firms และ Schulze
et al.,2001b ได้พูดถึง model ของ family firms ในรูป 8.5
และรวบรวมความสัมพันธ์ต่างๆในรูป
8.6 และยังคงมีความสัมพันธ์ของตัวแทน และตัวการอีกหลายรูปแบบ
ให้ศึกษาต่อไปอีกในอนาคต
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น