วันศุกร์ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2557



Business and public policy: Competing in the Political Marketplace
การบริหารเชิงกลยุทธ์เป็นเกี่ยวกับความพยามยามขององค์กรที่จะแสวงหา และสร้างคุณค่าให้กับองค์กร จากโอกาส ซึ่งโอกาสนั้นแตกต่างกันตามภูมิภาค ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมของสถานที่ตั้งขององค์กรนั้นๆ  เจ้าของรางวัล Nobel  Douglas North ได้ให้คำนิยามของสภาวะแวดล้อมแบ่งออกเป็นสองแบบ เรียกว่าแบบ formal และ informal (North, 1994, 1990) โดย formal หมายถึง กฏระเบียบ กฏหมาย นโยบาย สิ่งที่มีการบังคับใช้ แต่ informal หมายถึง ประเพณี ค่านิยม สิ่งที่มีผลต่อจิตใจ ที่บัญญัติในแต่ละประเทศ ดังนั้นองค์กรหนึ่งที่มีกิจกรรมต่ออีกองค์กรหนึ่ง ผันแปรจากคู่แข่งขัน supplier เป็น พรรคการเมือง และกลุ่มที่สนใจ การดำเนินการในสภาพแวดล้อมเหมือนกันย่อมส่งผลต่อโอกาส ที่เหมือนกัน มีการวิจัยมากมายที่อธิบายถึง ความพอดีระหว่าง องค์กร กับปัจจัยภายนอก Nohria and Ghoshal, 1994; Venkatraman, 1989) เมื่อสภาพแวดล้อมเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว อย่างไรก็ตาม โอกาส หรืออุปสรรค ถึงสร้างบนพื้นฐานของการเปลี่ยนแปลง ดังนั้นแนวคิดของธุรกิจ แบบ static ไม่เหมาะสมเท่ากับแนวคิด dynamic ความถี่ของ action ที่สร้างจุดแข่งขั้น เพื่อจะคาดหมาย reactions เพื่อเปลี่ยนสภาวะแวดล้อม (Ferrier, Smith, and Grimm, 1999; Smith, Grimm, and Gannon, 1992) ในสภาวะแวดล้อมแบบ dynamic โอกาสหรืออุปสรรคจะค่อยๆ ปรากฏขึ้นจาก interactions ระหว่างองค์กร กับองค์กรอื่น และกับสภาพแวดล้อม
เพราะว่า formal ที่กล่าวแล้วถูกสร้างจาก conscious และ informal ไม่ ซึ่ง formal เป็นอะไรที่เปลี่ยนแปลงได้ง่ายกว่า องค์กรที่ค้นหาโอกาสใหม่ๆ โดยการเปลี่ยน formal เช่น MCI Corporation ได้ lobby US federal regulations ให้เปิดเสรีโทรทางไกล ทำให้ MCI ได้ตลาดใหม่ ในประมาณปี 1980s ได้มีความพยายามใช้สกุลเงินรวมกันของ EU เพื่อลด internal barrier เป็นสิ่งที่หลายๆ ประเทศใน EU ร่วมกันทำเพื่อลด transactions cost ของการค้าและ utilize เศรษฐกิจของ EU และ การหารือในสภา Congress US ในการก่อตั้ง permanent normal trade relations กับจีน เป็น กิจกรรมที่สนับสนุนโดยหลายๆ ธุรกิจ เช่น Starbucks และ Avon Products ซึ่งต้องการสร้างโอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ (Maggs, 2000; Scrivo, 2000).

ในบทนี้เราจะพิจารณา 3 ทางเลือก การทำงานร่วมกันของกลยุทธ์การเมือง เหมือนกันกิจกรรมส่วนหนึ่งของกลยุทธ์ธุรกิจ Schendel and Hofer (1979) ได้นิยาม กลยุทธ์องค์กรคือความพยามที่จะรวมเอาธุรกิจ เข้ากับสภาวะแวดล้อมที่ควบคุมไม่ได้ ขยายความมุมมองนี้คือ สภาพแวลล้อมทางธุรกิจที่ต้องทำงานร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็นกฎหมาย นโยบาย หรือบทบังคับต่างๆ ซึ่งกลยุทธ์องค์กรที่ต้องทำงานร่วมกับ formal เหล่านี้เรียกว่า “non-market strategy” และยังคงเป็นข้อถกเถียงกันว่าธุรกิจจะได้ประโยชน์ จากการรวมกันของกลยุทธ์ market และ non-market หรือไม่
ในตอนต่อไปเราจะเริ่มพิจารณาว่าเหตุใดกลยุทธ์ทางการเมืองจึงไม่รวมอยู่ในกลยุทธ์ธุรกิจ และจะได้ติดตามการนิยามจากการวิจัยที่ชี้ให้เห็นว่าความพยายามเรื่องการตัดสินใจนโยบายสาธารณะควรเป็นส่วนหนึ่งของทั้งแผนกลยุทธ์องค์กร บทบาทต่อไปของความสามารถของธุรกิจที่จะใช้หลายๆ กลยุทธ์การเมืองจะถูกอภิปราย และในที่สุดจะสรุปย่อยถึงความแตกต่างของสถาบัน สามารถมีผลต่อโอกาส สำหรับธุรกิจที่พยายามเปลี่ยนกฏหมาย หลักเกณฑ์ และนโยบาย

Why Is Political Strategy Often not Included as Part of Business Strategy?
เมื่อรัฐ ได้เริ่มทำนโยบาย หรือกฎหมายใหม่ หรือเปลี่ยนแปลงสิ่งที่มีอยู่ เช่น สิทธิการถือครองที่ดิน การกีดกันทางการค้า การควบคุมสิ่งแวดล้อม นโยบายการแข่งขัน การฝึกฝีมือแรงงาน กำหนดมาตราฐานสถานที่ทำงานปลอดภัย หรืออื่นๆ การตัดสินใจนั้นมีผลโดยตรงไปยังแต่ละบริษัทฯ ไม่ว่าจะเป็นการดำเนินงาน หรือโอกาส ในการทำธุรกิจ Poter ได้เรียกสิ่งนี้ว่า external factor นักวิจัยเรื่องกลยุทธ์ทั้งหมดเข้าใจถึงความสำคัญของนโยบายรัฐ และหลายๆ กระแสหลักของการวิจัย ซึ่งยังคงเป็นที่สงสัยกระบวนการโดยแต่ละ นโยบายเป็น ความเด็ดขาดแน่นอนเหมือนกับ ออกซิเจน ในสิ่งแวดล้อม ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น
บางทีเพราะว่าหลายๆ นักวิจัยกลยุทธ์มีพื้นฐานในอุตสาหกรรม องค์กรทางเศรษฐศาสตร์และนักเศรษฐศาสตร์หลายๆ คนก็ไม่ได้สนใจกระบวนการที่นโยบายของรัฐ บังคับใช้ ถ้าเราพิจารณาหนังสือเศรษฐศาสตร์หลายๆ เล่มก่อนปี 1990 ได้มีการอภิปรายกันอย่างเด่นชัดของกระบวนการการเมือง เหมือนกับกลยุทธ์การแข่งขัน หรือมาตราการทางการค้า น้อยมากที่จะเขียนถึงกระบวนการในการเลือกนโยบาย การบังคับใช้ หรือการเปลี่ยนแปลง
มีวิจัยอีกหลายชิ้นเป็นที่น่าสนใจ และวิธีการที่สำคัญที่แสดงให้เห็นในงานครั้งนี้คือ กรอบแนวคิดของ กระบวนการการเมือง ที่ถ่ายโอนระหว่าง actor และมันใช้อธิบายได้อย่างมากมายในจุดนี้
มันเป็นการแข่งขันระหว่าง ตัวองค์กร กลายเป็นการตัดสินใจทางการเมือง และนี่เป็นการแข่งขันระหว่างการค้นหา ที่กลายเป็น suppliers ของ นโยบายสาธารณะ ในบทบัญญัติด้านอุปทาน

The Public Policy Process and Business Strategy
มีการยอมรับถึงความสำคัญของกิจกรรมการเมืองขององค์กร ที่กำหนดเหมือนกับทุกกิจกรรมโดยธุรกิจออกแบบที่จะโน้มน้าวการตัดสินใจของรัฐ
ผู้บริหารที่ประสบความสำเร็จต้องเข้าใจกระบวนการนโยบายสาธารณะ และสามารถทำนายศักยภาพที่จะมีประโยชน์ ในประเด็นที่เกิดขึ้น
การทำงานในด้านอุปสงค์ของนโยบายสาธารณะ ธุรกิจต้องเกี่ยวข้องกับ กิจกรรมทางการเมืองเพื่อพยายามจะรักษา หรือทำให้ผลประโยชน์ยั่งยืน หรือสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันทั้งในประเทศและต่างประเทศ เป้าหมายขององค์กรมีหลายอย่างเช่นการเพิ่มขนาดตลาด หรืออำนาจการต่อรอง ที่เกี่ยวกับ suppliers เพื่อลดต้นทุน และลดอุปสรรคของคนที่จะเข้ามาใหม่ในตลาด และผู้ได้รางวัล Nobel อีกคนหนึ่งได้กล่าวว่า มีสี่กลุ่มของผลประโยชน์ที่องค์กรจะได้รับจากการป้องกันโดยใช้นโยบายการเมือง คือป้องกันผู้อื่นเข้ามาในตลาด และการกำหนดราคา
ที่ผ่านๆมาองค์กรพยายามจะปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมเพื่อความได้เปรียบในการแข่งขัน องค์กร และกลุ่มแข่งขัน ต้องเข้ากับนโยบายให้ได้ จากการศึกษาหลายๆ องค์กรมีเป้าประสงค์ร่วมกัน และแข่งขันกับผู้สนใจภายนอกเท่านั้น ในกรณีอื่นๆ สมาชิกของอุตสาหกรรม มีความแตกต่างกันจึงมีการกระทบต่อนโยบายต่างกัน

Political Competencies and Firm Advantages in the Political Marketplace
การที่องค์กรมีทรัพยากรณ์มาก ทำให้องค์กรมีความสามารถ และสามารถสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันได้ก็จริงอยู่ แต่ความสามารถในด้านการเมืองเป็นเรื่องที่ ทฤษฎีทรัพยากรณ์ไม่สามารถอธิบายได้ เพราะความสามารถในการเล่นการเมืองขององค์กรขึ้นอยู่กับความสามารถในการเข้าถึงผู้ตัดสินใจ และผู้กำหนดนโยบายทางการเมือง ดังนั้น สนามการเมืองจึงแตกต่างไปจากสนามการค้า  เรียกว่า non market asset
การที่องค์กรมีความน่าเชื่อถือ มีชื่อเสียง เช่นการทำ green strategy ,green customer จะสร้างความหน้าเชื่อถือให้กับ การเมือง และผู้บัญญัติกฏหมาย ผู้ซึ่งกำหนดรูปแบบสภาวะแวดล้อมในอนาคต ทั้งความสามารถ และทรัพยากรณ์ที่มีสามารถสร้างความได้เปรียบและจะทำให้เกิดความยากลำบากต่อองค์กรอื่น
ดังนั้นความสามารถในด้านการเมืองสร้างความได้เปรียบทางธุรกิจให้กับองค์กรได้ และความสามารถของธุรกิจ เช่นการมีทรัพยากรณ์ เงิน อำนาจการต่อรอง จะสร้างความสามารถในด้านการเมือง ซึ่งสามารถจะพัฒนา หรือหายไปจากองค์กรได้

Corporate Political Actions
การดำเนินการด้านการเมืองขององค์กรมี 3 ระดับคือ การทำเป็นหมู่คณะ การทำโดยองค์กรเดียว และการกระทำโดยคนเดียว กับองค์กรเช่น ผู้บริหารระดับสูง ซึ่งทำให้แบ่งการเข้าถึงได้ 3 แบบ คือ bottom-up คือจากผู้ปฏิบัติคือองค์กรแต่ละองค์กรไปสู้ผู้ตัดสินใจ และแบบ Top-down คือจากนโยบายกำหนดลงมาให้ปฏิบัติ และแบบสุดท้ายเรียกว่า evolutionary เป็นการพัฒนารูปแบบของพฤติกรรมในเวลาที่ผ่านมา
รูป 21.1 วัฏจักรของประเด็นที่มีผลกระทบ และโอกาสที่จะโน้มน้าวในประเด็นนั้น เริ่มตั้งแต่ การเปิดประเด็น ไปสู่ วาระของกลุ่มองค์กร และมีการขยายความสนใจ จนพิจารณาร่างกฏหมาย ผ่านกฎหมาย มีการกำหนดบทของกฎหมาย และการประกาศใช้ ซึ่งองค์กรจะมีผลกระทบจากน้อยไปมาก หมายถึงองค์กรจะมีผลกระทบมากที่สุดเมื่อมีการประกาศบังคับใช้ ในขณะที่ นโยบายสาธารณะที่มีผลกระทบกับองค์กรจะมีจากมากไปหาน้อย คือเมื่อเริ่มประเด็น นโยบายสาธารณะจะมีผลกระทบกับองค์กรมากที่สุด และลดลงจนต่ำที่สุดเมื่อมีการประกาศใช้ เช่นเมื่อประเด็นเริ่มต้นอาจมีการเผยแพร่ใน social media ต่างๆ และหากประเด็นดังกล่าวยังเป็นที่สนใจก็จะพัฒนาไปสู่การพูดคุยกันในกลุ่มขององค์กร ซึ่งประเด็นดังกล่าวมีผลกระทบและยังคงมีความสำคัญอยู่ก็จะเข้าสู่กระบวนการพิจารณาให้ออกเป็นกฎหมายเพื่อบังคับใช้ในที่สุด

The Institutional Context of Business Political Action
North's (1994) ได้ให้ 3 ส่วนหลักของ framework เพื่อให้เข้าใจถึง institutional setting ของแต่ละการดำเนินธุรกิจ ไว้ในตอนต้นของบทนี้แล้ว มันเป็นการทำงานร่วมกันขององค์กรกับ formal และ informal institutional ที่อธิบายสภาพแวดล้อม ในเวลาต่างๆ และในพื้นที่ที่ต่างกัน framework นี้จะช่วยให้กำหนดคุณลักษณะสำคัญของ สภาพแวดล้อมของธุรกิจที่มีผลต่อการเลือกและประสิทธิภาพที่ต่างกัน ของศักยภาพการวางกลยุทธ์ทางการเมือง และ tactics ซึ่ง formal institutional เป็นสิ่งที่มีลักษณะเด่นชัด เช่น กฎหมาย ข้อบังคับ ในแต่ละประเทศ จะช่วยกำหนดโอกาสของธุรกิจ ในเวลานั้น ธุรกิจจะเกี่ยวพันในความพยายามที่จะเปลี่ยน หรือต้านการเปลี่ยน ใน formal institutional เหมือนกับหนทางที่จะสร้าง หรือป้องกัน โอกาส บาง formal institutional เป็นรากฐานสำคัญที่กำหนดกฎการตัดสินใจที่มีผลกระทบโดยตรง บนทางเลือกของกลยุทธ์การเมือง โดยธุรกิจ และองค์กรอื่นๆ ค้นหาอิทธิพลของการตัดสินใจเกี่ยวกับนโยบายสาธารณะ เช่น Hillman and Keim (1995) ได้แสดงให้เห็นทางที่แตกต่างของระบบรัฐสภา และ อำนาจของประธานาธิบดี ที่ทำงานโดยกำหนดโอกาสที่ต่างกันขององค์กร หรือกลุ่มอิทธิพลทางการเมือง
ในระบบรัฐสภากระทรวงจะมีความสำคัญในการกำหนดนโยบาย มากกว่าคณะรัฐมนตรี
การทำงานระหว่างธุรกิจ และรัฐ เป็นการทำงานระหว่าง คน เมื่อกลยุทธ์องค์กรเป็นการพิจารณาโดยการปฏิบัติด้านการเมือง ที่มีผลต่อการตัดสินใจ
Informal institutional คือ ธรรมเนียม ค่านิยมของประชาชน ที่มีผลต่อการดำเนินธุรกิจ ในระบบรัฐสภา หลายๆ กรณีที่ individual business ตลอดจนกิจกรรมของผู้บริหารการเป็นการสมาคมกับกลุ่มทางการเมือง ซึ่งนี่ไม่เป็นปรกติใน USA ที่จะพิจารณาความเสี่ยงโดยทำงานร่วมกับองค์กรใดองค์กรหนึ่งอย่างใกล้ชิด
Different institutional เกิดจากผู้ดำเนินองค์กรที่ต่างกัน เป็นข้อเสนอแนะอยู่เหนือ องค์กร บ่อยครั้งที่ขับเคลือนให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง ยกตัวอย่างเช่นใน เยอรมันนี สหภาพกรรมกร เป็นองค์กรที่ใหญ่ และเป็นสัดส่วนของแรงงานส่วนใหญ่ มากกว่าใน สหรัฐอเมริกา และมีศักยภาพที่จะชี้นำให้รัฐบาลต้องรับฟัง และเกิดการเปลี่ยนแปลงในที่สุด
การทำงานร่วมกันของทั้งสาม institutional บนสภาพแวดล้อมทางธุรกิจ สามารถแสดงให้เห็นได้ ดังตัวอย่าง จากการศึกษาเมื่อไม่นานมานี้ของ 47 national economics Canada และ Austria อยู่ในอันดับ 3 และ 1 ที่แสดงให้เห็นถึง เรื่องคุณภาพชีวิตที่วัดโดยการสำรวจประชากร Canada และ Austria มีระดับเท่าๆ กัน ของรายได้ประชากร และอยู่ในอันดับ 10 และ 11 ในการสำรวจมิตินี้ เปอร์เซนต์ของคนวัยทำงานเท่าๆ กัน ในแต่ละประเทศจะมีความหลากหลายคล้ายกันของแรงงานที่อยู่ใน สหภาพแรงงาน แต่ Austria มีการนัดหยุดงานน้อยที่สุด อยู่ในอันดับหนึ่งในขณะที่ Canada อยู่ในอันดับท้ายๆ เพราะเหตุใด
ใน Austria เน้นการทำงานร่วมกันของแรงงาน และผู้บริหาร เป็น social partnership การทำงานแบบนี้เป็นบทเรียนหลังจากที่เกิดสงครามกลางเมืองอย่างดุเดือดในปี 1930s หลังจากที่สงครามโลกครั้งที่สองจบลง Austria ได้แบ่งพื้นที่บางส่วนให้รัสเซีย ในเขตทางเหนือของ Danube river และ พันธะมิตรตะวันตก ควบคุมทางใต้ของประเทศ การร่วมประเทศต้องการความร่วมมืออย่างมากเพื่อให้มั่นใจว่าความต้องการของทั้งสองฝ่ายในสงครามเย็น จะลงตัวได้ การสนับสนุนความร่วมมือกันหลังสงคราม รัฐบาลได้สร้าง สมาชิกปกครองในองค์กร ที่จะเป็นตัวแทน และใส่ใจในการทำงานทั้งหมดของธุรกิจ สภาผู้แทนฯ เป็นสิ่งที่เรียกกันในเวลาต่อมา ซึ่งเป็นองค์กรสำคัญ ที่เป็นตัวแทนที่ถูกเลือกโดยผู้มีสิทธิเลือกตั้ง เพื่อหาความเห็นพ้องต้องกันและเป็นสิ่งสำคัญของคำถามของนโยบายเศรษฐกิจ ใน Austria การค้นพบหลักการทำงานร่วมกันมีคุณค่ามาก และสามารถแยกปัญหา ซึ่งยังคงคุณค่าสำหรับ Austria จนถึงวันนี้
และนี่เป็นตัวอย่างที่สำคัญที่องค์กรเป็นผู้เล่นในกระบวนการนโยบายสาธารณะ และองค์กรสภาผู้แทนฯ ซึ่งผลมาจากความต้องการ formal institutional ของสมาชิกสภาผู้แทน สำหรับลูกจ้าง และผู้ประกอบการณ์ ความสำคัญของ informal institutional เน้นการทำงานร่วมกัน เหมือนประเพณีสังคม ซึ่งพัฒนาหลักจากสงครามกลางเมือง และสงครามโลก และประเพณีนี้เองได้ซึมเข้าไปในวัฒนธรรม และป้องกันไม่ให้ ลูกจ้าง และนายจ้างขัดแย้งกัน

Conclusion
สำหรับทุกองค์กรธุรกิจ การสร้างกลยุทธ์ จำเป็นต้องสร้างทางเลือก บนพื้นฐานของการวิเคราะห์ โดยละเอียกจากธุรกิจ และสภาวะแวดล้อมทางธุรกิจ เพื่อจะดำเนินการ หรือค้นหาวิธีดำเนินการ บทสรุปของบทนี้คือ formal institutional เป็นส่วนหนึ่งของสภาวะแวดล้อม เช่น กฏหมาย นโยบายรัฐ การกำกับดูแล และการบังคับใช้ เป็นสิ่งที่จะเปลี่ยนแปลงไป ด้วยการทำงานขององค์กรต่อสภาวะแวดล้อม โอกาสในวันพรุ่งนี้เป็นผลจากการกระทำในวันนี้ ดังนั้นองค์กรควรจะคิดเกี่ยวกับการสร้างโอกาส โดยการพยายามเปลี่ยนแปลงสภาวะแวดล้อม และควรคิดว่าองค์กรอื่นๆ จะมีความพยายามเปลี่ยนสภาวะแวดล้อมไปอย่างไร
สำหรับมุมมองของการวิจัยด้านการจัดการ 3 กระแสหลักที่รวมกัน ประการแรก คือความเข้าใจของ institutional ของสภาวะแวดล้อมของธุรกิจ เหมือนเป็นการพัฒนา institutional ใหม่ๆ เช่นที่ Douglas North ได้แนะนำไว้ ประการที่สอง มุมมองทางเลือกของสาธารณะของกระบวนการทางการเมืองที่จะเป็นสถานะการแข่งขัน เป็นการวางแผนอย่างละเอียด ประการสุดท้าย การวิจัย กิจกรรมทางการเมืองของธุรกิจ และเน้นเป็นพิเศษเฉพาะองค์กร เมื่อรวมทั้งสามแบบเข้าด้วยกันแล้วหวังอย่างยิ่งว่าจะสะดวกต่อผู้ทำวิจัย ที่จะศึกษาศักยภาพของสภาวะแวดล้อมการเมืองของ ธุรกิจ เป็น สิ่งที่ไม่ได้เกิดภายนอกระบบ แต่เป็นส่วนสำคัญของการกำหนดและสร้างกลยุทธ์ และการวิจัยต่อไป





วันศุกร์ที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2557



Corporate Strategy and Ethics, as Corporate Strategy comes of age
ในยุค 1980s เศรษฐกิจมีภาวะแข่งขันสูง ราวกับว่าจะเข้าสู่ยุคของการแข่งขันสมบูรณ์ องค์กรธุรกิจต่างๆ ได้มีการใช้กลยุทธ์องค์กร เพื่อแสวงหากำไร จนดูเหมือนเป็นการโฆษณาเกินจริง นักวิชาการจึงเริ่มมีการพูดถึงจริยะธรรมในการใช้กลยุทธ์ต่างๆขององค์กร เมื่อยี่สิบกว่าปีก่อน Kenneth Andrews (1980) ได้พูดถึงความเชื่อมโยงระหว่าง กลยุทธ์องค์กร กับ จริยะธรรม โดยได้พูดถึงคุณค่า 3 ประการ คือ เกมส์คือคุณค่าของการเล่น ชัยชนะคือคุณค่าของการค้นหา และ ชีวิต กับอาชีพ คือคุณค่าของการดำรงชีวิตอยู่
มีตำรามากมายที่กล่าวถึงการใช้จริยะธรรมเป็นปัจจัยในการตัดสินใจเลือกกลยุทธ์ นักคิดที่สำคัญในเรื่องนี้คือ Andrews ได้กล่าวว่า CEO กำเนิดจากวัตถุประสงค์ เช่น เรื่องคำจำกัดความของ CEO โดยเขากล่าวว่าเป็นผู้มีจิตใจมุ่งมั่น ทำงานที่มีคุณค่า และสร้างกลยุทธ์องค์กรที่หลักแหลม และ Hosmer ได้ติดตามความสัมพันธ์ระหว่างกลยุทธ์องค์กร และจริยะธรรม โดยเขียนหนังสือ Chester Barnard ในช่วงต้นศตวรรษที่ 20  ซึ่งสร้างชื่อเสียงให้เขาอย่างรวดเร็ว และยังมีงานหลายชิ้นที่น่าสนใจ  แสดงให้เห็นว่าจริยะธรรมมีความจำเป็นที่ต้องใช้ในกลยุทธ์องค์กร แต่จะใช้แบบไหนอย่างไรซึ่งจะได้กล่าวต่อไป
วัตถุประสงค์แรกของบทนี้ เป็นการสำรวจหาแนวความคิดในยุคเดียวกัน เกี่ยวกับ กลยุทธ์องค์กร และ จริยะธรรม ใช้ร่วมกันได้จริง และอะไรเป็นการสอนจริยะธรรมที่ Andrews พูดถึงในยุคก่อน ประการแรก การยืนยันคำตอบของคำถามดูเหมือนจะเป็นไปไม่ได้ การสนทนาในยุคเดียวกันเกี่ยวกับแนวคิดของ กลยุทธ์องค์กร เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นโดยภาษาทางเศรษฐศาสตร์ ปรัชชญาสังคม และชีวะวิทยา ไม่ได้เกิดจากจริยะธรรม (Hosmers,1994) อย่างไรก็ตามคนก็ยังเชื่อตาม Andrews ที่สอนว่า Corporate strategy และ ethics สามารถมีจุดร่วมกันได้ คำกล่าวนี้ เป็น หลักของ เกมส์คือคุณค่าของการเล่น ชัยชนะคือคุณค่าของการค้นหา และ ชีวิต กับอาชีพ คือคุณค่าของการดำรงชีวิตอยู่ ในบทนี้ เราจะพบบางส่วนของ เรา และการทำงานของเรา
หลักของบทนี้คือ กลยุทธ์องค์กร และ จริยะธรรม เป็นการเชื่อโยงเหมือนกับปัจจุบัน ใน 3 ทางที่กล่าวหรือไม่ ประการที่สอง ความสัมพันธ์ระหว่างกลยุทธ์องค์กร และ จริยะธรรม รวมถึงการรวมตัวกันของการพิจารณาจริยะธรรม ในกระบวนการการบริหารกลยุทธ์ ประการที่สาม ความสัมพันธ์ระหว่างกลยุทธ์องค์กร และ จริยะธรรม เป็นการวิจารณ์จริยะธรรม ที่ขับเคลือน ระหว่างกระบวนการบริหารกลยุทธ์ และ แนวทางของกลยุทธ์องค์กร ซึ่งการบริหารเชิงกลยุทธ์และ กลยุทธ์องค์กรไม่เหมือนกันในมุมมองของการวิจารณ์
วัตถุประสงค์ที่ 2 ของบทนี้เพื่อติดตามดูการพัฒนาของการวิจารณ์เรื่องจริยะธรรม ของแนวคิดของกลยุทธ์องค์กรที่มีอายุมากว่า 20 ปี เป็นเรื่องที่ติดตาม และสนใจของ ผู้วิจารณ์ โดยผู้วิจารณ์ไม่ได้เสียอะไรนอกจากเวลา จากจุดยืนทั่วไปของผู้วิจารณ์ผู้ซึ่งถามถึงเรื่องจริยะธรรม ของกลยุทธ์องค์กร และแนวคิดเรื่องกลยุทธ์องค์กรนั้นสำคัญเหมือนกันกับสิ่งที่เราเข้าใจ

The Strategic Management Process and Ethics
การเชื่อมโยงระหว่าง กระบวนการบริหารเชิงกลยุทธ์ และจริยะธรรม กลายเป็นสิ่งที่ยอมรับกันในการศึกษาด้านบริหารในอเมริกา และการยอมรับนี้แสดงให้เห็นโดยมีการเขียนในตำราหลายเล่ม ซึ่งในตำราเหล่านั้นได้กล่าวถึงแนวคิดของ Andrews เป็นการปลุกเร้าให้ชีวิตเบิกบาน บนรูปแบบของ คำสั่งสอน ที่กล่าวว่า ethics is useful as a modifying influence on the strategic management process

ที่แรกที่เราพบกับ เรื่อง การดัดแปลงจริยะเข้ากับกระบวนการทางกลยุทธ์ ใน ตำรา Strategic Management: Competitiveness and Globalization, Hitt, Ireland, and Hoskisson (1999) รวมทุกอย่างใน 13 บทในรูปแบบเดียวกัน คือเริ่มต้นด้วย “Review Questions” ต่อด้วย “Application Discussion Questions.”และจบด้วย “Ethics Questions” ตาม “Application Discussion Chapters.” ที่ๆ เหมาะสมกับ จริยะธรรม คือไม่เข้าใจผิดในรูปแบบ มันเป็นคำถามสำคัญ ที่จะแสดงให้เห็นถึง กระบวนการบริหารเชิงกลยุทธ์ จริยะธรรม ทำให้เกิดการปรับปรุงเป็นคำถามที่สำคัญกว่า
ในตำรา Strategic Management: Building and Sustaining Competitive Advantage, Pitts and Lei (2000) 9 ใน 12 บทอธิบายแนวคิดการบริหารเชิงกลยุทธ์ ซึ่งร่วมถึงมุมมองทางจริยะธรรมด้วย อีกครั้งที่ตรรกะของความสัมพันธ์ชัดเจน และบทเรียนหลักคือเรียนเรื่อง กระบวนการบริหารเชิงกลยุทธ์ และ จริยะธรรมสอดแทรกในและบทเรียน ในตำรา Strategic Management: Concepts and Cases, Thompson and Strickland (1999: 53–4) อภิปรายถึง  “Three Strategy-Making Tasks.” และต่อไปที่การชี้ถึง “The Factors that Shape a Company's Strategy” การอภิปรายถึงจริยะธรรมเป็นช่วงสุดท้ายของบท เมื่อเริ่มคิดเรื่องกลยุทธ์แล้วจึงนำมาพิจารณาในแง่มุมของจริยะธรรม

เราได้ย่ำเตือนถึงเรื่องสำคัญสำหรับการพิจารณาเรื่องจริยะธรรม ในทุกๆ การตัดสินใจ ที่พยายามมีอิทธิพลกับสภาพแวดล้อมทางธุรกิจ
เพราะผลกระทบดังกล่าวจะย้อนกลับมาสู้ลูกจ้าง ชุมชน ดังนั้น ผู้บริหารองค์กรจึงต้องพิจารณาถึงจริยะธรรม และ การตอบสนองต่อสังคม เพื่อบริหารผลกระทบที่จะย้อนกลับมาอย่างรอบครอบ

The proposition evolves
กระบวนการบริหารงานเชิงกลยุทธ์ เป็นตัวชี้ และเชื่อมความสัมพันธ์ของ กลยุทธ์องค์กร และจริยะธรรม จนทฤษฏีมีความชัดเจน ซึ่งก่อนหน้านี้ดูเหมือนจะเป็นคำถามที่หาคำตอบอยู่ เมื่อยี่สิบปีก่อน George Steiner, John Miner, และ Edmund Gray, ร่วมกันเขียน Management Policy and Strategy (1982: 8) ตำรา, การอภิปราย เน้นถึงสิ่งที่เด่นชัน บน “organizational obligations to society.” หรือ พันธ์ขององค์กรต่อสังคม
และการกล่าวถึงนี่เองที่กำหนดบทบาทหลักขององค์กรใหม่ และเป็นปัญหาเชิงกลยุทธ์ขององค์กรด้วย เมื่อยื่สิบปีก่อน Steiner, Miner, and Gray ถึงความสงสัยเกี่ยกับ กลยุทธ์องค์กร และจริยะธรรมว่าเข้าได้ได้หรือไม่ และความสงสัยนี้ได้ถูกแทนที่อย่างเชื่อมั่น ในตำราด้านการบริหารเชิงกลยุทธ์ ว่าจริยะธรรมสามารถดัดแปลงให้เข้ากับกระบวนการบริหารเชิงกลยุทธ์ ได้เป็นอย่างดี

Perspective
ความเชื่อมโยงระหว่าง กระบวนการบริหารเชิงกลยุทธ์ และจริยะธรรม เป็นเหมือนกับวินัยที่สร้างความปลอดภัย ด้วยเหตุผล 3 ประการคือ ประการแรก ที่เป็นเหมือนวินัยที่สร้างความปลอดภัยเนื่องจาก กระบวนการบริหารเชิงกลยุทธ์จะไม่เปลี่ยนแปลงไปแม้ว่าจะนำจริยะธรรมเข้ามาร่วมด้วย
ประการที่สอง กระบวนการบริหารเชิงกลยุทธ์ และจริยะธรรม เป็นเหมือนกับวินัยที่สร้างความปลอดภัย เพราะว่า จะได้รับการสนับสนุนจากสังคมและชุมชน
ประการที่สาม กระบวนการบริหารเชิงกลยุทธ์ และจริยะธรรม เป็นเหมือนกับวินัยที่สร้างความปลอดภัย เพราะว่ามันเป็นการเพิ่มผู้บริหารทุน กระบวนการบริหารเชิงกลยุทธ์ เป็นเสมือนคัมภีร์ ที่จะนำไปปฏิบัติ ผู้บริหารกลยุทธ์ ชั้นนำจะวางแผนสร้างแรงจูงใจ และควบคุม ในนามของผู้รับมอบอำนาจจากผู้ถือหุ้น

However
ตั้งแต่ Andrews เชื่อมโยง กลยุทธ์องค์กรเข้ากับ จริยะธรรม ก็เริ่มมีการสิ่งกีดขวาง ที่เริ่มกระจัดกระจาย ในเรื่องของการมีวินัยเป็นความปลอดภัย ซึ่งทำให้ จริยะธรรม สามารถดัดแปลงให้แทรกซึมเข้ากับกระบวนการบริหารเชิงกลยุทธ์ โดยการแทกรซึมนี้มีผู้สงสัยว่าทั้ง จริยะธรรม และกระบวนการบริหารเชิงกลยุทธ์นั้นเป็นแนวคิด ซึ่งทำหน้าที่เท่าๆกัน



The Strategic Management Process as Applied Ethics

LaRue Hosmer (1994) และ Alan Singer (1994) ต่างก็ไม่ได้กล่าวว่าจริยะธรรมจะเพียงแค่ดัดแปลงลงไปในกระบวนการบริหารเชิงยุทธ์ศาสตร์ แต่กินความหมายที่กว้าง และลึกกว่านั้น
Hosmer (1994:19-20) ได้แปลกระบวนการบริหารเชิงกลยุทธ์ เข้าไปในปัญหาต่อเนื่องของการเรียงลำดับความคิดของ อันตราย และผลประโยชน์ ที่มาพร้อมกับการตัดสินใจ
… the trust, commitment and effort on the part of all of the stake-holders of a firm are as
essential to the success of that firm as are the competitive advantages and strategic
positions of its planning process …

Hosmer (1994:32) ได้สรุปคำสอนนี้ว่า ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ที่พัฒนาความไววางใจในทิศทางที่ธุรกิจจะ แสดงพันธะสัญญาในอนาคต และพันธะสัญญาในอนาคต ของธุรกิจสามารถรองรับได้ เป็นทั้งการทำงานร่วมกันและ นวตกรรม

Singer (1994: 200) เชื่อม จริยะธรรม และ กระบวนการบริหารเชิงกลยุทธ์ บนพื้นฐานที่ทั้งสอง เป็นเหตุผลในกระบวนการตัดสินใจ

Perspective
การทำงานของ Hosmer และ Singer ต่างก็ฉีกออกจากความเชื่อเดิมๆ ที่กำหนดว่าจริยธรรม มีบทบาทเพียงดัดแปลงให้เข้ากับ กระบวนการบริหารเชิงกลยุทธ์ โดยเขาเชื่อว่า จริยธรรมไม่ได้ดัดแปลงให้เข้ากับกระบวนการบริหารเชิงกลยุทธ์ แต่ เหตุผล ของจริยะธรรม มีอิทธิพล ต่อกระบวนการบริหารเชิงกลยุทธ์
Hosmer และ Singer ได้แสดงให้เห็นว่าจริยะธรรมเป็นเบื้องหน้าและฉากหลังของ กระบวนการบริหารเชิงกลยุทธ์

Shorthand notation
บทนี้เราต้องการขยายความว่าอะไรคือ จุดหักเหที่ กลยุทธ์องค์กร และจริยธรรม มาเกี่ยวข้องกัน และมันค่อยๆ ปรากฏใน สหรัฐอเมริกา ผู้เขียนใช้ “ethical criticism of corporate strategy”  หรือ ECCS ซึ่งเป็นทางที่สะดวกที่จะอ้างถึง ECCS ไม่ใช่คำปกติที่ใช้ทั่วไป แต่หมายถึง กระแสหลักของการทำวิจัยด้าน กลยุทธ์องค์กร

Ethical Criticism and Corporate Strategy

ECCS เป็นการทำเพื่อ ยืนยันเกี่ยวกับแนวคิดของ กลยุทธ์องค์กร และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ร่วมถึงกระบวนการบริหารเชิงกลยุทธ์
การวิจารณ์เป็นศิลปะ วิจัยเรื่องกลยุทธ์องค์กรเป็นวิทยาศาสตร์ทางสังคม ซึ่งต่างกันมาก อย่างหลังจะมีคนรู้มากกว่ารูปแบบในการศึกษากลยุทธ์องค์กร ดังนั้นการขยายความแบบย่อเป็นการวิจารณ์ว่าอะไรคือกิจกรรมที่มีความเกี่ยวข้องกัน

The act of criticism
หากการวิจารณ์คือการแปลความตามตัวอักษรแล้วเราอาจจะพลาดความหมายเชิงนัยของงานเขียนเหล่านั้น  การวิจารณ์คือการใช้สัญชาติญาณในการคิดว่าอะไรคือความหมายที่แท้จริง และตีความถึงความหมายเชิงนัยได้อย่างถูกต้องและครบถ้วนตามความประสงค์ของผู้เขียน

The act ethical criticism of corporate strategy, in three layers
การวิจารณ์จริยธรรมในกลยุทธ์องค์กรเป็นศิลปะ และการกระทำที่ผสานกันของการฝึกฝนของการวิจารณ์ การศึกษาเรื่องจริยธรร และจุดสมดุลย์ของแนวคิดเรื่อง กลยุทธ์องค์กร สามารถฝึกฝนได้ด้วยการฝึกฝนทางธุรกิจ การวิจารณ์จริยธรรมในชั้นของการกระทำเป็นการวิจารณ์โดยตั้งสถานะสำหรับจริยธรรม และตั้งสถานะของการยืนยัน ความเชื่อในศักยภาพของปัญญาของแนวคิดกลยุทธ์องค์กร แบ่งเป็น 3 ลำดับชั้น
ชั้นแรก การวิจารณ์จริยธรรมของกลยุทธ์องค์กร เป็นการวิจารณ์ในความรู้สึก ที่ ECCS นักวิจารณ์ชำนาญในสิ่งที่เขารู้เช่น การวิจารณ์หนังสือ การวิจารณ์ภาพยนตร์ วิจารณ์อาหาร เป็นต้น
ชั้นที่สอง การวิจารณ์จริยธรรมของกลยุทธ์องค์กร เป็นการวิจารณ์ในความรู้สึก ที่ ECCS นักวิจารณ์กล่าวถึงกระบวนการ ตั้งสมมุติฐาน ตรรกะของความสัมพันธ์กันระหว่าง a กลยุทธ์องค์กร b ทฤษฏีทางจริยธรรม
ชั้นที่สาม การวิจารณ์จริยธรรมของกลยุทธ์องค์กร เป็นการวิจารณ์ในความรู้สึก ที่ ECCS เป็นการตั้งสองสมมุติฐาน ของกลยุทธ์องค์กร a ความรู้ทั้งหมดเรื่องพันธะสัญญา b จะเป็นเกิดขึ้นจนกว่า ศูนย์กลาง การยอมรับคำสอนของ กลยุทธ์องค์กรไม่มีความท้าทาย



The Challenges of Affirmative Ethical Criticism of Corporate Strategy
ความท้าทายในการยืนยัน การวิจารณ์จริยธรรมของกลยุทธ์องค์กร ต้องเผชิญกับเรื่องสำคัญ 2 เรื่องคือ ประการแรกคือจะผสมผสานภาษาของลูกค้า ภาษาธุรกิจ และภาษาทางสังคมวิทยา
ประการที่สอง การต่อต้านความสัมพันธ์ระหว่างธุรกิจ และจริยธรรม ที่จะลงลึกไปในการศึกษาทางธุรกิจ เราเรียกว่า separation thesis โดย Barney ได้เรียกร้องที่จะให้ทุกอย่างที่ชี้ให้เห็นถึงพื้นฐานของคำถามวิจัยเรื่องกลยุทธ์องค์กร มีทุกสิ่งที่ทำโดยสมัครใจ มีวัตถุประสงค์ชัดเจน มีหลักการ การทำงานร่วมกัน ของคน การติดตาม

Ethical Criticism of Corporate Strategy Emerges
Freeman’s (1984) ได้พูดถึง ECCS Ethical criticism of corporate strategy  ในหนังสือ Strategic Management : A Stakeholder Approach โดย Freeman ได้กำหนด CEO คราวๆ ว่าคือคนผู้ซึ่ง จัดการ และเจรจา กับกรณีของการใช้คน โดยเริ่มจากคนที่เกี่ยวข้องกับองค์กร เพื่อกำหนดกลยุทธ์องค์กรที่ถูกต้อง

An unlikely impetus
กุญแจสำคัญของ ECCS ที่สำคัญอีกอย่างนึงมาจากแหล่งที่ไม่น่าจะเป็นไปได้ Michael Porter ได้เขียนเรื่อง competitive advantage strategy ซึ่งมีคนอ่านมาก ซึ่งไม่ได้พูดถึงจริยธรรม แต่เขาได้กล่าวว่า ธุรกิจต้องต่อสู้กันอย่างสูง และจะไม่ทำโดยขาดการพิจารณา ซึ่งมีความหมายเชิงนัยเกี่ยวกับจริยธรรมนั้นเอง

A Stream of Ethical Criticisms of Corporate Strategy
ตั้งแต่ ECCS ได้เริ่มมีการพูดถึง กระแสของโครงการการวิจารณ์ทั้ง 5 ก็ได้ตีพิมพ์ขึ้น ในแต่ละ การวิเคราะห์จุดเปลี่ยนของ กลยุทธ์องค์กรนำมาซึ่งการหาคำตอบของคำถามเรื่องจริยธรรม ซึ่งจะได้กล่าวในรายละเอียดต่อไป

Five Critical analyses
ประการแรกกล่าวถึง “Strategy through process”  ในความหมายของจริยธรรม ซึ่ง Strategy through process ต้องการความร่วมมือในทำงาน
ประการที่สอง เรียกว่า corporate re- engineering เป็นกระบวนการในการร่วมมือกันเพื่อหาทางเลือกที่ดีที่สุดขององค์กร
ประการที่สาม เรียกว่า “the prisoner’s dilemma” ซึ่งใช้ในทฤษฎีเกมส์ โดยมีนักโทษสองคน ถูกแยกสอบสวนโดยมีทางเลือก 2 ทางคือรับสารภาพ กับไม่รับสารภาพ ซึ่งถ้ารับสารภาพจะได้รับการกันไว้เป็นพยาน และจำคุกคนที่ไม่รับสารภาพ แต่ถ้ารับสารภาพทั้งคู่ ก็ได้ลดโทษครึ่งหนึ่ง แต่ถ้าไม่รับสารภาพทั้งคู่ตำรวจก็อาจจะส่งฟ้องโดยมีหลักฐานไม่เพียงพอ ทางเลือกที่ดีที่สุดคือไม่สารภาพทั้งคู่ แต่นักโทษมักจะไม่เลือกทางนี้เพราะไม่ไว้ใจอีกฝ่ายหนึ่ง ซึ่งการเลือกทางเลือกนี่เองได้อธิบายประเด็นของจริยธรรม ในแง่ของการตัดสินใจ
ประการที่สี่ เป็นกระแสของการวิจารณ์จริยธรรมของกลยุทธ์องค์กร ได้พูดถึงการแข่งขันในตลาด ความสัมพันธ์ของแนวคิดเรื่องกลยุทธ์องค์กร ที่ส่งผ่านเป็นกระบวนการการตัดสินใจ
ประการที่ห้า เป็นกระแสของการวิจารณ์จริยธรรมของกลยุทธ์องค์กรที่มีผลกระทบต่อภายนอก

Summary of this stream of ethical criticism
ในแต่ละการวิเคราะห์ การวิจารณ์จริยธรรม ให้สองมาตราฐานของจริยธรรมคือ a ตัวแทนศีลธรรมเป็นอิสระต่อกัน b จริยธรรมขององค์กรมีผลต่อ ประชากร และสังคมอิสระภาพ

Ethical Criticisim of Corporate Strategy Arrives at Two Destinations
การวิจารณ์จริยธรรมของกลยุทธ์องค์กร ทำให้ได้พบกับ สองจุดหมายสำคัญ
ประการแรกคือ กลยุทธ์องค์กรต้องเรียงร้อยเอาจริยธรรมไปพร้อมๆ กับการเมือง ในอีกทางหนึ่ง มันคือพิมพ์เขียวที่สร้างระเบียบวินัย และความเจริญให้คน
ประการที่สอง การวิจารณ์จริยธรรมของกลยุทธ์องค์สามารถเริ่มสร้างจุดที่จะ literature ที่ใช้ได้ดีในการสอนกลยุทธ์องค์กร เหมือนกับมนุษย์เริ่มจะมีชีวิต จริยธรรม และการเมือง เป็นคุณค่าของการมีชีวิต

Conclusion
ECCS ขับเคลือนโดยไม่หยุดนิ่ง สรุปในหนังสือ Alma Mater “I can't stop imagining how much better we could be if we asked more of ourselves.” มันไม่ใช่ปลายทางของ ECCS หรือสำหรับทุกๆการฝึกฝนของการวิจารณ์  กลยุทธ์องค์กรพัฒนามาตราฐานขึ้นเรื่อยๆ สำหรับในอนาคต ECCS จะเป็นเพียงแคมเปญ ทีกำหนดความคาดหวังแนวคิดเรื่องกลยุทธ์องค์กรสามารถขับเคลือนได้มากกว่าจะเป็นเพียงหลักสูตรที่เรียนกันในสถาบันการศึกษาเท่านั้น หรือเพียงเพื่อการโต้วาทีเกี่ยวกับอิสระภาพ ประชาธิปไตย และมากว่าที่จะพูดว่า “Corporation X มีศักยภาพเหนือกว่า Corporation Y เพราะใช้กลยุทธ์องค์กร S.”